หน้าหลัก นัดหมายแพทย์
เจ้าหน้าที่จะติดต่อกลับภายใน 48 ชั่วโมง เพื่อยืนยันนัดหมาย
ตรวจเช็คสิทธิประกันสังคมก่อนหมดปี ว่าเรายังเหลืออะไรบ้าง
สิทธิประโยชน์สำหรับผู้ประกันตน มาตรา 33 สิทธิประโยชน์ที่ผู้ประกันตน มาตรา 33 จะได้รับ สามารถแบ่งออกได้เป็น 7 กรณี ดังนี้ 1. กรณีเจ็บป่วย ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับค่าส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ตามหลักเกณฑ์และอัตราที่คณะกรรมการการแพทย์ฯ กำหนด ซึ่งรวมถึงการฉีดวัคซีนตามสถานการณ์การระบาดของโรคที่กำหนดขึ้นในแต่ละปี โดยสามารถเข้ารับบริการได้ ณ สถานพยาบาลที่สำนักงานประกันสังคมกำหนดสิทธิ เจ็บป่วยปกติ สามารถเข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลตามสิทธิหรือเครือข่ายของสถานพยาบาลนั้นได้ฟรี โดยไม่ต้องสำรองค่าใช้จ่าย ทั้งผู้ป่วยนอก (OPD) และผู้ป่วยใน (IPD) ประสบอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยฉุกเฉิน กรณีเข้ารักษาพยาบาลที่สถานพยาบาลรัฐ: - ผู้ป่วยนอก (OPD) เบิกค่ารักษาพยาบาลได้ตามที่จ่ายจริง - ผู้ป่วยใน (IPD) เบิกค่ารักษาพยาบาลได้ตามที่จ่ายจริง ภายในระยะเวลาไม่เกิน 72 ชั่วโมง ทั้งนี้ไม่นับรวมวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์ กรณีเข้ารักษาพยาบาลที่สถานพยาบาลเอกชน: - ผู้ป่วยนอก (OPD) เบิกค่ารักษาพยาบาลได้ตามที่จ่ายจริง ไม่เกิน 1,000 บาท หรือ เกิน 1,000 บาทได้ หากมีการตรวจรักษาตามรายการในประกาศของคณะกรรมการการแพทย์ - ผู้ป่วยใน (IPD) กรณีที่ไม่ได้รักษาในห้อง ICU เบิกค่ารักษาพยาบาลได้ไม่เกินวันละ 2,000 บาท ค่าห้องและค่าอาหาร ไม่เกินวันละ 700 บาท และสำหรับกรณีที่รักษาในห้อง ICU เบิกค่ารักษาพยาบาล ค่าห้อง และค่าอาหาร ได้รวมไม่เกินวันละ 4,500 บาท ผ่าตัดใหญ่ เบิกได้ไม่เกินครั้งละ 8,000-16,000 บาท ค่ายา และค่าอุปกรณ์ เบิกได้ไม่เกิน 4,000 บาท ค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการ และค่าเอกซเรย์ เบิกได้ไม่เกิน 1,000 บาท ประสบอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต เข้ารับบริการทางการแพทย์ที่สถานพยาบาลใกล้เคียงได้ทุกแห่ง โดยไม่ต้องสำรองค่าใช้จ่าย ภายในระยะเวลา 72 ชั่วโมง ทั้งนี้ นับรวมวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์ ทันตกรรม - ถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูน และผ่าฟันคุด รับค่าบริการทางการแพทย์ตามที่จ่ายจริง ไม่เกิน 900 บาท/ปี - ฟันเทียมชนิดถอดได้บางส่วน รับค่าบริการทางการแพทย์ และค่าฟันเทียมตามที่จ่ายจริง โดย 1-5 ซี่ จะได้รับเงินไม่เกิน 1,300 บาท และมากกว่า 5 ซี่ ขึ้นไป จะได้รับเงินไม่เกิน 1,500 บาท - ฟันเทียมชนิดถอดได้ทั้งปาก กรณีฟันปลอมชนิดถอดได้ทั้งปากบนหรือล่าง รับค่าบริการทางการแพทย์ และค่าฟันเทียมตามที่จ่ายจริง ไม่เกิน 2,400 บาท และกรณีฟันปลอมชนิดถอดได้ทั้งปากบนและล่าง ไม่เกิน 4,400 บาท ภายในระยะเวลา 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ใส่ฟันเทียม ทั้งนี้ ผู้ประกันตนต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่ต่ำกว่า 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนวันรับบริการทางการแพทย์ จึงจะได้รับสิทธิ 2. กรณีคลอดบุตร - ผู้ประกันตนหญิง ได้รับเงินค่าคลอดบุตร 15,000 บาท ไม่จำกัดสถานพยาบาลและจำนวนครั้ง พร้อมรับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อคลอดบุตร 50% ของค่าจ้างเฉลี่ยเป็นเวลา 90 วัน (สำหรับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อคลอดบุตร สามารถเบิกได้สูงสุดไม่เกิน 2 ครั้ง) - ผู้ประกันตนชาย ซึ่งมีภรรยาที่จดทะเบียนโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือมีหญิงที่อยู่กินกันฉันสามีภรรยา รับเงินค่าคลอดบุตร 15,000 บาท - พร้อมเบิก ค่าตรวจและฝากครรภ์ ได้สูงสุด 1,500 บาท ทั้งนี้ ผู้ประกันตนต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่ต่ำกว่า 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนเดือนคลอดบุตร จึงจะได้รับสิทธิ และในกรณีที่ทั้งสามีและภรรยาเป็นผู้ประกันตน ให้เลือกใช้สิทธิในการเบิกค่าคลอดบุตรฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง โดยไม่จำกัดจำนวนบุตรหรือครั้งในการเบิก 3. กรณีทุพพลภาพ เงินทดแทนการขาดรายได้ - ทุพพลภาพระดับเสียหายไม่รุนแรง รับเงินทดแทนการขาดรายได้ 30% หรือในส่วนที่ลดลง ไม่เกิน 30% ของค่าจ้างรายวันตามมาตรา 57 ไม่เกิน 180 เดือน - ทุพพลภาพระดับเสียหายรุนแรง รับเงินทดแทนการขาดรายได้ 50% ของค่าจ้างรายวันตามมาตรา 57 ตลอดชีวิต ค่าบริการทางการแพทย์ กรณีเจ็บป่วยปกติ: - เข้ารักษาพยาบาลที่สถานพยาบาลรัฐ – ผู้ป่วยนอก (OPD) รับค่าบริการทางการแพทย์ตามที่จ่ายจริง และผู้ป่วยใน (IPD) เข้ารับบริการได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย - เข้ารักษาพยาบาลที่สถานพยาบาลเอกชน – ผู้ป่วยนอก (OPD) รับค่าบริการทางการแพทย์ตามที่จ่ายจริง ไม่เกินเดือนละ 2,000 บาท และผู้ป่วยใน (IPD) ไม่เกินเดือนละ 4,000 บาท กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต: เข้ารับบริการทางการแพทย์ที่สถานพยาบาลใกล้เคียงได้ทุกแห่ง โดยไม่ต้องสำรองค่าใช้จ่าย ภายในระยะเวลา 72 ชั่วโมง นับรวมวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์ ทั้งนี้ ผู้ประกันตนต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่ต่ำกว่า 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนทุพพลภาพ (ที่ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการทำงาน) จึงจะได้รับสิทธิ 4. กรณีเสียชีวิต - จ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 36 เดือนขึ้นไป แต่ไม่ถึง 120 เดือน รับเงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิต 50% ของค่าจ้างเฉลี่ย 4 เดือน พร้อมรับค่าทำศพ 50,000 บาท - จ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 120 เดือนขึ้นไป รับเงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิต 50% ของค่าจ้างเฉลี่ย 12 เดือน พร้อมรับค่าทำศพ 50,000 บาท ทั้งนี้ ผู้ประกันตนต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่ต่ำกว่า 1 เดือน ภายในระยะเวลา 6 เดือน ก่อนเสียชีวิต จึงจะได้รับสิทธิ 5. กรณีชราภาพ เงินบำนาญชราภาพ คือ เงินที่ทยอยจ่ายเป็นรายเดือนตลอดชีวิต - จ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือน (15 ปี) รับเงินบำนาญชราภาพรายเดือน 20% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย - จ่ายเงินสมทบมากกว่า 180 เดือน (15 ปีขึ้นไป) รับเงินบำนาญชราภาพรายเดือนเพิ่ม 1.5% จากอัตรา 20% ในทุก 12 เดือน เงินบำเหน็จชราภาพ คือ เงินที่จ่ายเป็นก้อนครั้งเดียว - จ่ายเงินสมทบต่ำกว่า 12 เดือน รับเงินบำเหน็จชราภาพเท่ากับจำนวนเงินสมทบเฉพาะในส่วนของผู้ประกันตน เพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ - จ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป รับเงินบำเหน็จชราภาพเท่ากับจำนวนเงินสมทบที่ผู้ประกันตนและนายจ้างจ่ายสมทบ เพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ พร้อมผลตอบแทนตามที่สำนักงานประกันสังคมกำหนด - กรณีผู้รับเงินบำนาญชราภาพเสียชีวิตภายใน 60 เดือน นับตั้งแต่เดือนที่มีสิทธิได้รับเงินบำนาญชราภาพ จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ 10 เท่าของเงินบำนาญชราภาพรายเดือนที่ได้รับครั้งสุดท้ายก่อนเสียชีวิต ทั้งนี้ ผู้ประกันตนต้องมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง หรือเป็นผู้ทุพพลภาพ หรือเสียชีวิต จึงจะได้รับสิทธิ 6. กรณีสงเคราะห์บุตร รับเงินค่าสงเคราะห์บุตรคนละ 800 บาท/เดือน โดยต้องเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายที่มีอายุไม่เกิน 6 ปีบริบูรณ์ ครั้งละไม่เกิน 3 คน ทั้งนี้ ผู้ประกันตนต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่ต่ำกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือน ก่อนเดือนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน จึงจะได้รับสิทธิ 7. กรณีว่างงาน - กรณีถูกเลิกจ้าง รับเงินทดแทนในช่วงว่างงาน 70% ของค่าจ้าง ครั้งละไม่เกิน 200 วัน - กรณีลาออก หรือ สิ้นสุดสัญญาจ้าง รับเงินทดแทนในช่วงว่างงาน 45% ของค่าจ้าง ครั้งละไม่เกิน 90 วัน (บังคับใช้ 1 มี.ค. 63 – 28 ก.พ. 65) - กรณีว่างงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัย รับเงินทดแทนในช่วงว่างงาน 50% ของค่าจ้าง ครั้งละไม่เกิน 90 วัน ทั้งนี้ ผู้ประกันตนต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่ต่ำกว่า 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนว่างงาน จึงจะได้รับสิทธิ ผู้ประกันตนโดยสมัครใจ (มาตรา 39) ผู้ประกันตน มาตรา 39 คือ บุคคลที่เคยทำงานและเป็นผู้ประกันตน มาตรา 33 มาก่อน แล้วออกจากงานแต่ต้องการรักษาสิทธิประกันสังคม เงินสมทบที่ผู้ประกันตน มาตรา 39 ต้องนำส่งจะเท่ากับ 432 บาท/เดือน ทั้งนี้ ผู้ประกันตนต้องส่งเงินสมทบให้ครบทุกเดือนต่อเนื่องกัน ซึ่งหากไม่ส่งเงินสมทบ 3 เดือนติดต่อกัน หรือภายในระยะเวลา 12 เดือน ส่งเงินสมทบไม่ครบ 9 เดือน ก็จะถือว่าสิ้นสุดสภาพการเป็นผู้ประกันตน มาตรา 39 ในทันที คุณสมบัติของผู้สมัคร มาตรา 39 เคยเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ซึ่งจ่ายเงินสมทบแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน และออกจากงานไม่เกิน 6 เดือน นับตั้งแต่วันที่ออกจากงาน รวมถึงต้องไม่เป็นผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีทุพพลภาพจากกองทุนประกันสังคม สิทธิประโยชน์สำหรับผู้ประกันตน มาตรา 39 ผู้ประกันตน มาตรา 39 จะได้รับความคุ้มครอง 6 กรณี ต่อเนื่องจากการเป็นผู้ประกันตน มาตรา 33 ซึ่งได้แก่ กรณีเจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ เสียชีวิต สงเคราะห์บุตร และชราภาพ โดยจะได้รับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ เช่นเดียวกับ ผู้ประกันตน มาตรา 33
การตรวจสุขภาพฟรี สำหรับ ผู้ประกันตนประกันสังคม
การ "ตรวจสุขภาพ" ฟรี สำหรับประกันสังคม หรือ ผู้ประกันตน สำนักงานประกันสังคมร่วมขับเคลื่อนตามนโยบายรัฐบาลและกระทรวงแรงงานเพื่อดูแลสุขภาพของผู้ประกันตนเชิงรุกในทุกมิติ โดยให้สิทธิผู้ประกันตนเข้ารับการตรวจสุขภาพกับสถานพยาบาลที่สมัครเข้าร่ว มโครงการตรวจสุขภาพกับสำนักงานประกันสังคม ซึ่งกำหนดให้ผู้ประกันตนสามารถเข้ารับการตรวจสุขภาพ ฟรี 14 รายการ กับสถานพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการตรวจสุขภาพ ผู้ประกันตน สามารถ "ตรวจสุขภาพ" ฟรี โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย 14 รายการ ดังนี้ การตรวจร่างกายตามระบบ 1.การคัดกรองการได้ยิน Finger Rub Test อายุ 15 ปีขึ้นไป ตรวจ 1 ครั้ง/ 1 ปี 2.การตรวจเต้านมโดยแพทย์หรือบุคลากรสาธารณสุข อายุ 30-39 ปี ตรวจทุก 3 ปี , 40-54 ปี ตรวจทุกปี , 55 ปีขึ้นไป ตรวจตามความเหมาะสมหรือมีความเสี่ยง 3.การตรวจตาโดยความดูแลของจักษุแพทย์ อายุ 40-54 ปีตรวจ 1 ครั้ง , อายุ 55 ปีขึ้นไป ตรวจทุก 1-2 ปี 4.การตรวจสายตาด้วย Snellen eye Chart อายุ 55 ปีขึ้นไปตรวจ 1 ครั้ง/ปี การตรวจทางห้องปฏิบัติการ 5.ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด CBC อายุ 18-54 ปีตรวจ 1 ครั้ง , อายุ 55-70 ปีตรวจ 1 ครั้ง/ปี 6.ปัสสาวะ UA อายุ 55 ปีขึ้นไปตรวจ 1 ครั้ง/ปี การตรวจสารเคมีในเลือด 7.น้ำตาลในเลือด FBS อายุ 35-54 ปีตรวจทุก 3 ปี , อายุ 55 ปีขึ้นไปตรวจ 1 ครั้ง/ปี 8.การทำงานของไต Cr อายุ 55 ปีขึ้นไปตรวจ 1 ครั้ง/ปี 9.ไขมันในเลือดชนิด Total cholesterol & HDL อายุ 20 ปีขึ้นไป ตรวจทุก 5 ครั้ง
โรงพยาบาลเออีซี AEC Hospital พร้อมเปิดให้บริการแบบเต็มรูปแบบเร็ว ๆ นี้
โรงพยาบาลเออีซี AEC Hospital “การรักษาพยาบาล ที่ไร้พรมแดน” โรงพยาบาลเออีซี เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2567 เป็น โรงพยาบาลระดับทุติยภูมิขนาด 30 เตียง บริหารงานโดย บริษัทเออีซี เมดิคอลเซ็นเตอร์ จำกัด โรงพยาบาลเออีซี เป็นโรงพยาบาลที่ทำการรักษา ทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติ โดยเน้น บริการกลุ่มตรวจ ร่างกายทุกประเภท ทั้ง รูปแบบในโรงพยาบาล(Walk in) และบริการนอกสถานที่ (Mobile check up)และ รักษาพยาบาลผู้ป่วยนอก(OPD)ผู้ป่วยใน(IPD)ในกลุ่มโรคง่ายๆไม่ซับช้อน(Simpledisease)หรือกลุ่มผู้ป่วย อุบัติเหตุฉุกเฉินเช่นกลุ่มผู้ประสบภย์จากรถ(พรบ.)และอุบัติเหตุจากการทำงาน(กองทุนเงินทดแทน) พร้อมทั้ง เปิดให้บริการ 24 ชั่วโมงมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทุกโรคทุกสาขา ได้แก่ อายุรศาสตร์ศัลยศาสตร์ สูติ - บรีเวชวิทยา กุมารเวชศาสตร์ ออร์โรปิดิกและบริการฟอกโลหิต (ไตเทียม) และกรณีอุบัติเหตุฉุกเฉิน มีบริการรถพยาบาลรับ - ส่ง ผู้ป่วยตลอด 24 ชั่วโมง ด้วยความปลอดภัย ตามมาตรฐานวิชาชีพโดยทีมแพทย์และพยาบาลผู้เชี่ยวชาญ • ศูนย์แพทย์เฉพาะทางครบทุกสาขา • ศูนย์อุบัติเหตุฉุกเฉิน 24 ชั่วโมง • จำนวนเตียงรับผู้ป่วยใน 30 เตียง • เปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง • ตรวจร่างกายแรงงานต่างด้าว เฉลี่ย 10,000 ราย/ปี • ตรวจร่างกายนอกสถานที่บริษัท เฉลี่ย 15,000 ราย/ปี แนวคิดทางธุรกิจ (Business Thinking & Concept) จังหวัดชลบุรี เป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ระดับประเทศมีนิคมอุตสาหกรรมหลายแห่งตั้งอยู่ เช่น นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร,นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง,นิคมอุตสาหกรรม ปิ่นทอง,นิคมอุตสาหกรรมเหมราช เป็นต้น และยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงระดับโลก เช่นชายหาดพัทยา ,ชายหาดบางแสน ฯลฯ นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์กลางคมนาคมและการเชื่อมโยงระบบขนส่ง จังหวัดชลบุรีมีผลิตภัณฑ์จังหวัด (GDP) 1,009,363 ล้านบาท เป็นอันดับ2 ของประเทศ มีประชากรประมาณ 1,583,672 คน(ข้อมูลปี 2566) มีประชา กรมากเป็นอันดับ 6 ของประเทศและประชากรแฝง ประมาณ 1-2 ล้านคน ส่วนใหญ่ประชากรแฝงเป็นกลุ่มพนักงาน และลูกจ้างในบริษัท /สถานประกอบการ ซึ่งมีสวัสดิการรักษาพยาบาลหลักโดยใช้สิทธิ์ประกันสังคม และประกันสุขภาพกลุ่ม (Group insurance) นอกจากนี้ยังมีกลุ่มคนไทยและต่างด้าว ที่จะต้องมีการตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน (Work permit) และ การตรวจร่างกายประจำปี (Annual Check up) ซึ่งในปัจจุบันมีเพียงโรงพยาบาลรัฐบาล และโรงพยาบาลเอกชนขนาดใหญ่รองรับเท่านั้น AECHospital มีแนวคิดจัดตั้งโรงพยาบาลเพื่อรองรับลูกค้ากลุ่มดังกล่าว โดยเน้นบริการกลุ่มตรวจร่างกายทุกประเภท ทั้งรูปแบบในโรงพยาบาล (Walkin) และบริการนอกสถานที่ (Mobile chedkup)และรักษาพยาบาลผู้ป่วยนอก (OPD) ผู้ป่วยใน(IPD) ในกลุ่มโรคง่ายๆไม่ซับซ้อน (Simple disease)หรือ กลุ่มผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉิน เช่น กลุ่มผู้ประสบภัยจากรถ(พรบ.) และ อุบัติเหตุจากการทำงาน (กองทุนเงินทดแทน) โดยใช้กลยุทร์หลัก เป็นโรงพยาบาลเอกชนที่มีคุณภาพ เข้าถึงบริการได้ง่ายแต่ราคาเหมาะสม พร้อมเปิดให้บริการแบบเต็มรูปแบบเร็ว ๆ นี้ - โรงพยาบาลเออีซี AEC Hospital - “การรักษาพยาบาล ที่ไร้พรมแดน”