หน้าหลัก
บริการ
ข่าวและบทความ
เกี่ยวกับเรา
ติดต่อ
ภาษา
เข้าสู่ระบบ

หน้าหลัก ข่าวสารองค์กร

กรมการจัดหางาน เร่งช่วยเหลือแรงงานทุกกลุ่ม หลังเหตุแผ่นดินไหว

อธิบดี “สมชาย” เผย เดินหน้าเต็มที่ตามข้อสั่งการ “พิพัฒน์” รมว.แรงงาน นายสมชาย มรกตศรีวรรณ อธิบดีกรมการจัดหางาน เปิดเผยว่า จากเหตุแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 กรมการจัดหางานขอแสดงความห่วงใยต่อแรงงานทุกคนที่ได้รับผลกระทบ และพร้อมดำเนินมาตรการช่วยเหลือตามข้อสั่งการของ นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานทันที โดยเน้นดูแลแรงงานทุกมิติ ทั้งแรงงานไทยในประเทศ แรงงานไทยในต่างประเทศ และแรงงานต่างชาติ ในประเทศไทย มาตรการช่วยเหลือแรงงานไทยในประเทศ • ลดอัตราดอกเบี้ยเหลือ 0% สำหรับผู้กู้ยืมเงินจากกองทุนเพื่อผู้รับงานไปทำที่บ้าน • ส่งเสริมการประกอบอาชีพอิสระ และจัดหางานให้ผู้ที่ได้รับผลกระทบเพื่อให้มีรายได้อย่างต่อเนื่อง แรงงานไทยในประเทศเมียนมา (สมาชิกกองทุนฯ) • เดินทางกลับก่อนกำหนด (กรณีภัยพิบัติ): ช่วยเหลือรายละ 15,000 บาท • ทุพพลภาพ (มีใบรับรองแพทย์): ช่วยเหลือรายละ 30,000 บาท • เสียชีวิตในต่างประเทศ: ช่วยเหลือรายละ 40,000 บาท • ค่าจัดการศพในต่างประเทศ: ชดเชยตามจริงไม่เกิน 40,000 บาท แรงงานต่างชาติในประเทศไทย - อำนวยความสะดวกในการออกหลักฐานทดแทนกรณีใบอนุญาตทำงานสูญหาย - ติดตามช่วยเหลือให้ได้รับสิทธิประโยชน์ ดังนี้ กรณีอยู่ในระบบประกันสังคม • กรณีบาดเจ็บ ค่ารักษาพยาบาล รพ.รัฐ ไม่เกิน 65,000 บาท รพ.เอกชน ไม่เกิน 1,000,000 บาท • กรณีตาย หรือสูญหาย ค่าทำศพ 50,000 บาท ค่าทดแทนรายเดือนร้อยละ 70 ของค่าจ้าง (สูงสุดไม่เกิน 14,000 บาท) ระยะเวลา 10 ปี • กรณีสูญเสียอวัยวะหรือสมรรถภาพในการทำงาน ได้รับร้อยละ 70 ของค่าจ้าง ระยะเวลาไม่เกิน 10 ปี • กรณีทุพพลภาพได้รับร้อยละ 70 ของค่าจ้าง ไม่เกิน 14,000 บาทต่อเดือน ตลอดชีวิต • กรณีฟื้นฟูสมรรถภาพการทำงาน ภายหลังการประสบอันตรายสำหรับลูกจ้างจำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข กรณีซื้อประกันสุขภาพ (บริษัทประกันเอกชน) • ค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยใน (อุบัติเหตุหรือเจ็บป่วย): สูงสุด 150,000 บาท • ค่ารักษาผู้ป่วยนอก: ไม่เกิน 15 ครั้งต่อปี / ครั้งละ 1,000 บาท • กรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวรจากอุบัติเหตุ: ชดเชย 100,000 บาท ทั้งนี้ แรงงาน นายจ้าง และสถานประกอบการ สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือหรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานจัดหางานจังหวัด / สำนักงานจัดหางานกรุงเทพฯ พื้นที่ 1–10

เช็กมาตรการช่วยเหลือ นายจ้าง ลูกจ้าง ได้รับผลกระทบแผ่นดินไหว

เช็กมาตรการช่วยเหลือ นายจ้าง-ลูกจ้าง ได้รับผลกระทบแผ่นดินไหว . เรือเอก สาโรจน์ คมคาย อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) เปิดเผยว่า จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 28 มีนาคมที่ผ่านมา ส่งผลให้สถานประกอบกิจการหลายแห่งและลูกจ้างได้รับผลกระทบ โดยนายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้แสดงความห่วงใยและเร่งให้ความช่วยเหลือแรงงานทุกกลุ่มอย่างเร่งด่วน . พร้อมทั้งกำชับให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เร่งสำรวจสถานประกอบกิจการและลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งนี้และให้ความคุ้มครองตามกฎหมายอย่างเต็มที่เพื่อบรรเทาผลกระทบและให้ทุกฝ่ายสามารถกลับมาดำเนินชีวิตได้อย่างปกติและฟื้นฟูกิจการได้โดยเร็ว เรือเอก สาโรจน์ กล่าวต่อไปว่า กสร. ได้เตรียมมาตรการช่วยเหลือนายจ้างและลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบ . มาตรการช่วยเหลือแผ่นดินไหว จากเหตุการณ์แผ่นดินไหว เพื่อให้ความคุ้มครองสิทธิและผลประโยชน์ของทุกฝ่ายกฎหมาย ดังนี้ 1. สถานประกอบกิจการได้รับความเสียหายจนต้องปิดกิจการหรือมีความจำเป็นในการเลิกจ้างลูกจ้าง จะต้องจ่ายค่าจ้างถึงวันทำงานวันสุดท้าย หรือวันปิดกิจการและจ่ายค่าชดเชยการเลิกจ้างตามอายุงาน รวมถึงค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้ากรณีไม่มีการบอกกล่าวล่วงหน้า 2. กรณีที่ไม่ปิดกิจการแต่มีความจำเป็นต้องหยุดกิจการชั่วคราว ลูกจ้างจะได้รับค่าตอบแทนไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของค่าจ้าง หากลูกจ้างไม่ได้รับสิทธิในกรณีดังกล่าว สามารถยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน หรือยื่นคำฟ้องต่อศาลแรงงานได้ และหากนายจ้างไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงาน ลูกจ้างยังสามารถยื่นขอรับเงินจากกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างได้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด 3. กสร. ยังได้จัดเตรียมมาตรการเพื่อช่วยเหลือนายจ้างหรือสถานประกอบกิจการ ดังนี้ 3.1 สถานประกอบกิจการที่ต้องการปรับปรุงความปลอดภัยในการทำงานภายหลังจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว เช่น บริการตรวจสอบระบบไฟฟ้า เครื่องจักร และปั้นจั่น 3.2 บริการวงเงินกู้จากกองทุนความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานได้ โดยไม่จำกัดวงเงินและอัตราดอกเบี้ยเพียงร้อยละ 2 ต่อปี พร้อมระยะเวลาผ่อนชำระสูงสุด 5 ปี สอบถามโทร 0 2448 9128-9 ต่อ 801-808 . 4. มาตรการช่วยเหลือลูกจ้างในสถานประกอบกิจการที่มีสหกรณ์ออมทรัพย์ สามารถขอกู้เงินจากกองทุนเพื่อผู้ใช้แรงงานได้ในวงเงิน 20 ล้านบาท ดอกเบี้ยร้อยละ 2 ต่อปี และมีระยะเวลาผ่อนชำระ 5 ปี สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร 0 2660 2180 หรือสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดทุกจังหวัด สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครทุกพื้นที่ หรือโทรสายด่วน 1506 กด 3 สายด่วน 1546 ขอบคุณข้อมูลจาก:กรุงเทพธุรกิจ

กรมการจัดหางาน เร่งช่วยเหลือแรงงานทุกกลุ่ม หลังเหตุแผ่นดินไหว

กรมการจัดหางาน เร่งช่วยเหลือแรงงานทุกกลุ่ม หลังเหตุแผ่นดินไหว . อธิบดี “สมชาย” เผย เดินหน้าเต็มที่ตามข้อสั่งการ “พิพัฒน์” รมว.แรงงาน นายสมชาย มรกตศรีวรรณ อธิบดีกรมการจัดหางาน เปิดเผยว่า จากเหตุแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 กรมการจัดหางานขอแสดงความห่วงใยต่อแรงงานทุกคนที่ได้รับผลกระทบ และพร้อมดำเนินมาตรการช่วยเหลือตามข้อสั่งการของ นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานทันที โดยเน้นดูแลแรงงานทุกมิติ ทั้งแรงงานไทยในประเทศ แรงงานไทยในต่างประเทศ และแรงงานต่างชาติ ในประเทศไทย มาตรการช่วยเหลือแรงงานไทยในประเทศ • ลดอัตราดอกเบี้ยเหลือ 0% สำหรับผู้กู้ยืมเงินจากกองทุนเพื่อผู้รับงานไปทำที่บ้าน • ส่งเสริมการประกอบอาชีพอิสระ และจัดหางานให้ผู้ที่ได้รับผลกระทบเพื่อให้มีรายได้อย่างต่อเนื่อง แรงงานไทยในประเทศเมียนมา (สมาชิกกองทุนฯ) • เดินทางกลับก่อนกำหนด (กรณีภัยพิบัติ): ช่วยเหลือรายละ 15,000 บาท • ทุพพลภาพ (มีใบรับรองแพทย์): ช่วยเหลือรายละ 30,000 บาท • เสียชีวิตในต่างประเทศ: ช่วยเหลือรายละ 40,000 บาท • ค่าจัดการศพในต่างประเทศ: ชดเชยตามจริงไม่เกิน 40,000 บาท แรงงานต่างชาติในประเทศไทย - อำนวยความสะดวกในการออกหลักฐานทดแทนกรณีใบอนุญาตทำงานสูญหาย - ติดตามช่วยเหลือให้ได้รับสิทธิประโยชน์ ดังนี้ กรณีอยู่ในระบบประกันสังคม • กรณีบาดเจ็บ ค่ารักษาพยาบาล รพ.รัฐ ไม่เกิน 65,000 บาท รพ.เอกชน ไม่เกิน 1,000,000 บาท • กรณีตาย หรือสูญหาย ค่าทำศพ 50,000 บาท ค่าทดแทนรายเดือนร้อยละ 70 ของค่าจ้าง (สูงสุดไม่เกิน 14,000 บาท) ระยะเวลา 10 ปี • กรณีสูญเสียอวัยวะหรือสมรรถภาพในการทำงาน ได้รับร้อยละ 70 ของค่าจ้าง ระยะเวลาไม่เกิน 10 ปี • กรณีทุพพลภาพได้รับร้อยละ 70 ของค่าจ้าง ไม่เกิน 14,000 บาทต่อเดือน ตลอดชีวิต • กรณีฟื้นฟูสมรรถภาพการทำงาน ภายหลังการประสบอันตรายสำหรับลูกจ้างจำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข กรณีซื้อประกันสุขภาพ (บริษัทประกันเอกชน) • ค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยใน (อุบัติเหตุหรือเจ็บป่วย): สูงสุด 150,000 บาท • ค่ารักษาผู้ป่วยนอก: ไม่เกิน 15 ครั้งต่อปี / ครั้งละ 1,000 บาท • กรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวรจากอุบัติเหตุ: ชดเชย 100,000 บาท ทั้งนี้ แรงงาน นายจ้าง และสถานประกอบการ สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือหรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานจัดหางานจังหวัด / สำนักงานจัดหางานกรุงเทพฯ พื้นที่ 1–10 . ขอขอบคุณข้อมูลจาก : กรมการจัดหางาน

“พิพัฒน์” ย้ำ! ไม่เก็บค่าธรรมเนียม แรงงานกัมพูชา ลาว เมียนมา เดินทางกลับประเทศต้นทาง สงกรานต์นี้ เดินทางสะดวก ไม่เสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม

“พิพัฒน์” ย้ำ! ไม่เก็บค่าธรรมเนียม แรงงานกัมพูชา-ลาว-เมียนมา เดินทางกลับประเทศต้นทาง สงกรานต์นี้ เดินทางสะดวก ไม่เสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม . วันที่ 18 มีนาคม 2568 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ประกาศมาตรการช่วยเหลือแรงงานต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา ที่ต้องการเดินทางกลับประเทศต้นทางช่วงเทศกาลสงกรานต์ โดยรัฐบาลไทยผ่อนผัน ไม่เก็บค่าธรรมเนียมใด ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกและลดภาระค่าใช้จ่ายให้แก่แรงงาน . นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า มติในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2568 เห็นชอบให้แรงงานต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา ที่ทำงานถูกต้องตามกฎหมาย สามารถเดินทางกลับประเทศบ้านเกิด ระหว่างวันที่ 1 เมษายน – 15 พฤษภาคม 2568 เพื่อร่วมประเพณีสงกรานต์ ได้โดยไม่ต้องยื่นคำขออนุญาตเพื่อกลับเข้ามาในราชอาณาจักร (Re-Entry Permit) ถือเป็นมาตรการช่วยเหลือแรงงานต่างด้าวที่ทำงานในไทยให้ได้รับความสะดวกและสามารถเดินทางกลับไปเยี่ยมครอบครัวโดยไม่มีภาระเพิ่มเติมการผ่อนผันดังกล่าวเป็นไปตามแนวทางการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวที่ถูกต้องเพื่อให้แรงงานข้ามชาติที่ทำงานในไทยสามารถเดินทางกลับประเทศได้โดยสะดวก และสามารถกลับเข้ามาทำงานต่อหลังสิ้นสุดเทศกาลโดยไม่มีอุปสรรค . “แรงงานข้ามชาติเป็นกำลังสำคัญของเศรษฐกิจไทย รัฐบาลไทยให้ความสำคัญกับการดูแลสิทธิแรงงาน และอำนวยความสะดวกให้สามารถเดินทางกลับประเทศต้นทางได้โดยไม่ต้องกังวลเรื่องค่าธรรมเนียมเป็นการช่วยเหลือแรงงานที่อยู่ในระบบให้ได้รับสิทธิประโยชน์อย่างเต็มที่” นายพิพัฒน์ กล่าว . ด้านนายสมชาย มรกตศรีวรรณ อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวว่า ระยะเวลาการผ่อนผันจะมีผลต่อเมื่อประกาศกระทรวงมหาดไทยมีผลบังคับใช้ หรือเป็นไปตามที่ประกาศกระทรวงมหาดไทยกำหนด แรงงานที่ประสงค์เดินทางกลับประเทศ ขอให้ติดตามข่าวสารจากกรมการจัดหางานอย่างใกล้ชิด ที่เว็บไซต์ กรมการจัดหางาน doe.go.th หรือสอบถามรายละเอียดและเงื่อนไขเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานจัดหางานจังหวัดทั่วประเทศ สำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1 – 10 หรือสายด่วนกระทรวงแรงงาน 1506 กด 2 กรมการจัดหางาน หรือสายด่วนกรมการจัดหางาน1694

“พิพัฒน์” เล็งแก้ กม. นำแรงงานต่างด้าว เข้าระบบประกันสังคม ม.33

“พิพัฒน์” เล็งแก้ กม. นำแรงงานต่างด้าว เข้าระบบประกันสังคม ม.33 . นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รมว.แรงงาน กล่าวปาฐกถาในงานสัมมนารับฟังความคิดเห็น “การแก้ไขกฎหมายการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวที่มีความเชื่อมโยงกับความมั่นคงและกิจการชายแดนของประเทศ” จัดโดย กมธ.ความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติ และการปฏิรูปประเทศ สภาผู้แทนราษฎรว่า ที่ผ่านมากระทรวงแรงงานได้นำเสนอข้อกฎหมายหลายเรื่อง โดยเฉพาะแรงงานต่างด้าว ทั้งชาวเมียนมา กัมพูชา ลาว และ เวียดนาม ซึ่งขณะนี้เกินกำหนดเวลาในการต่อใบอนุญาต ซึ่งสิ้นสุดเมื่อวันที่ 13 ก.พ.ที่ผ่านมา . ในส่วนของประเทศกัมพูชาใช้ระบบการต่อใบอนุญาตโดยใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งกระทรวงแรงงานพยายามทำทุกอย่างให้เป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์ เพราะจะได้มีการตรวจสอบง่ายขึ้น ส่วนประเทศเมียนมาขยายเวลาออกไปอีก 6 เดือน จากที่รัฐบาลเมียนมาเปลี่ยน รมว.แรงงาน จึงมีความไม่ชัดเจนของกระบวนการต่อใบอนุญาต หากในระยะเวลา 6 เดือนยังไม่จบก็จะนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อขยายระยะเวลาต่อไป นอกจากนี้ ยังมีอีกหลายอย่างที่กำลังหารือ โดยเฉพาะเรื่องประกันสังคมที่มีการทำประชาพิจารณ์เรื่องข้อยกเว้นอาชีพต่าง ๆ ของต่างด้าว เช่น หาบเร่ แม่บ้าน เกษตรกร ที่เป็นข้อยกเว้นของประกันสังคมเราจะนำเข้าสู่ระบบประกันสังคมตามมาตรา 33 เพื่อให้มีความสะดวกในสิทธิรักษาพยาบาลและการอยู่ในประเทศไทย เมื่อเกษียณอายุและต้องเดินทางกลับ ก็จะได้รับเงินบำนาญตามระเบียบหรือกฎหมายของประกันสังคม ตอนนี้กระทรวงแรงงานได้นำเรื่องเข้าสู่ ครม.แล้วเหลือเพียงรอการบรรจุเท่านั้น . รมว.แรงงาน กล่าวว่า การที่แรงงานไทยมีไม่เพียงพอถือเป็นความสูญเสียทางเศรษฐกิจ อย่างผู้ที่ทำเกษตรกร หากเก็บผลผลิตไม่ทันเจ้าของสวนก็จะขาดทุน กระทรวงแรงงานเราทำทุกสิ่งทุกอย่าง อะไรที่สามารถอำนวยความสะดวกและตอบสนอง ขอให้คณะ กมธ.ชุดนี้มาหารือกับกระทรวงแรงงาน อะไรที่ กมธ.ต้องการเร่งด่วน และต้องการนำเสนอเข้า ครม.เราจะต้องคุยและเดินหน้าพร้อมกัน เพื่อผลประโยชน์ประเทศของเรา ถือเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ . ส่วนการเลือกตั้งบอร์ดประกันสังคม อยู่ระหว่างเร่งนำเสนอครม. เพื่อปรับแก้การให้อำนาจ รมว.แรงงาน แต่งตั้งคณะกรรมการประกันสังคม หากเรื่องนี้เข้าสู่ที่ประชุม ครม.ขั้นต่อไปก็สามารถแก้ไขในชั้น กมธ.ได้ ขอขอบคุณข้อมูลจาก : สำนักข่าวอินโฟเควสท์

โรงพยาบาลเออีซีร่วมกับโรงพยาบาลเอเซียอินเตอร์เนชั่นแนลให้บริการทันตกรรมเคลื่อนที่

โรงพยาบาลเออีซีร่วมกับโรงพยาบาลเอเซียอินเตอร์เนชั่นแนลให้บริการทันตกรรมเคลื่อนที่ . * ไม่ต้องสำรองจ่าย *ไม่เสียเวลาเดินทาง *ไม่ต้องหยุดงาน บริการถึงที่ (ถึงคิวมีเจ้าหน้าที่โทรตาม) . โรงพยาบาลเออีซีร่วมกับโรงพยาบาลเอเซียอินเตอร์เนชั่นแนลพร้อมให้บริการรถทันตกรรมเคลื่อนที่ สิทธิ์ประกันสังคมทุกโรงพยาบาล (มาตรา 33 และ 39) #ไม่ต้องสำรองจ่าย (ภายในวงเงิน 900 บาท/ปี) . ให้บริการทางด้านทันตกรรมพื้นฐาน โดยทีมทันตแพทย์ผู้ชำนาญการ อาทิ 1.ขูดหินปูน 2.อุดฟัน 3.ถอนฟัน 4.ตรวจสุขภาพช่องปาก . สนใจตรวจสุขภาพติดต่อสอบถามหรือ นัดหมายจองคิวได้ที่ 061-350-6197

พิพัฒน์ ขอจับมือ โรม แก้กฎหมายดึงแรงงานต่างด้าว เข้าประกันสังคม

พิพัฒน์ ขอจับมือ โรม แก้กฎหมายดึงแรงงานต่างด้าว เข้าประกันสังคม . “พิพัฒน์” บรรยายแก้กฎหมายจัดการแรงงานต่างด้าว ลั่นขอจับมือ “โรม” บอกแม้อยู่คนละพรรค แต่ทำงานร่วมกันได้ ยินดีถ้ามีเรื่องเร่งด่วนจะนำเข้า ครม.ให้ เล็งแก้กฎหมายนำ “ต่างด้าว” เข้าสู่ระบบประกันตน ม.33 ย้ำแรงงานไทยไม่เพียงพอ ทำประเทศสูญเสีย ที่รัฐสภา นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวปาฐกถาในงานสัมมนารับฟังความคิดเห็น “การแก้ไขกฎหมายการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว ที่มีความเชื่อมโยงกับความมั่นคงและกิจการชายแดนของประเทศ” จัดโดยคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติ และการปฏิรูปประเทศ สภาผู้แทนราษฎร ที่มีนายรังสิมันต์ โรม สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน เป็นประธาน กมธ . นายพิพัฒน์ระบุว่า ที่ผ่านมากระทรวงแรงงานได้นำเสนอข้อกฎหมายหลายเรื่อง โดยเฉพาะแรงงานต่างด้าว ทั้งชาวเมียนมา กัมพูชา ลาว และเวียดนาม ซึ่งขณะนี้เลยระยะเวลาในการต่อใบอนุญาต ซึ่งสิ้นสุดแล้วเมื่อวันที่ 13 ก.พ.ที่ผ่านม . นายพิพัฒน์กล่าวต่อว่า ในส่วนประเทศกัมพูชาจบแล้ว เพราะมีการต่อใบอนุญาตโดยใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งกระทรวงแรงงานพยามทำทุกอย่างให้เป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์ เพราะจะได้มีการตรวจสอบง่ายขึ้น ขณะที่ประเทศเมียนมา มีการต่อระยะเวลาออกไปอีก 6 เดือน จากที่รัฐบาลเมียนมาเปลี่ยนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน จึงมีความไม่ชัดเจนของกระบวนการต่อใบอนุญาต แต่ขอให้สบายใจได้สำหรับนายจ้างใครที่ลงทะเบียนไว้เรียบร้อยแล้วถือว่ากระบวนการเสร็จสิ้น หากในระยะเวลา 6 เดือน ยังไม่จบก็จะนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อขยายระยะเวลาต่อไป “ทั้งนี้การนำเข้าแรงงานต่างด้าวตามมาตรา 64 อยู่ระหว่างรอบรรจุระเบียบวาระเข้าที่ประชุมคณธรัฐมนตรี (ครม.) และมีอีกหลายอย่างที่กำลังหารือ โดยเฉพาะเรื่องประกันสังคม ที่มีการทำประชาพิจารณ์ เรื่องข้อยกเว้นอาชีพ เราจะนำมาตรา 33 มาใช้ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนการบรรจุเข้าระเบียบวาระที่ประชุม ครม.เช่นกัน” นายพิพัฒน์กล่าว . นายพิพัฒน์กล่าวต่อว่า อาชีพต่าง ๆ ของต่างด้าว เช่น หาบเร่ แม่บ้าน เกษตรกร ที่เป็นข้อยกเว้นของประกันสังคมเราจะนำเข้าสู่ระบบประกันสังคมตามมาตรา 33 เพื่อให้มีความสะดวกในสิทธิรักษาพยาบาลและการอยู่ในประเทศไทย เมื่อเกษียณอายุและต้องเดินทางกลับ ก็จะได้รับเงินบำนาญตามระเบียบหรือกฎหมายของประกันสังคม ตอนนี้กระทรวงแรงงานได้นำเรื่องเข้าสู่ ครม.แล้วเหลือเพียงรอการบรรจุเท่านั้น รมว.แรงงาน ยังกล่าวว่า แรงงานไทยเรามีไม่เพียงพอ ถือเป็นความสูญเสียทางเศรษฐกิจ อย่างผู้ที่ทำเกษตรกร หากเก็บผลผลิตไม่ทันเจ้าของสวนก็จะขาดทุน กระทรวงแรงงานเราทำทุกสิ่งทุกอย่าง อะไรที่สามารถอำนวยความสะดวกและตอบสนอง ขอให้คณะ กมธ.ชุดนี้มาหารือกับกระทรวงแรงงาน อะไรที่ กมธ.ต้องการเร่งด่วน และต้องการนำเสนอเข้า ครม.เราจะต้องคุยและเดินหน้าพร้อมกัน เพื่อผลประโยชน์ประเทศของเรา ถือเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ . “ขอเรียนตรงนี้ว่าพวกเราอยู่ในประเทศไทย ผมอาจะมาจากอีกพรรคหนึ่ง คุณรังสิมันต์ อยู่อีกพรรคหนึ่ง แต่สุดท้ายพวกเรามาทำงานให้คนทั้งประเทศ ทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างเร็วขึ้น มีความโปร่งใสมากขึ้น วันนี้และในอนาคตผมมั่นใจ โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ที่เข้ามาสู่สภา เราคงจะได้มีการปรับเปลี่ยนที่สำคัญจิตสำนึกเป็นเรื่องใหญ่ที่สุด เพราะฉะนั้น กระทรวงแรงงานในยุคที่ผมกำกับดูแล ขอแสดงเจตจำนงว่าอะไรที่เราสามารถทำได้เราพร้อมสนับสนุน . อย่างไรก็ตาม น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.มหาดไทย เป็นหัวขบวน จัดประชุมในวันที่ 12 มี.ค. 68 เพื่อเร่งรัดหลายเรื่องให้เข้าสู่ที่ประชุม ครม.โดยเฉพาะ พ.ร.บ.ประกันสังคม” นายพิพัฒน์กล่าว . นายพิพัฒน์ยังกล่าวถึงการเลือกตั้งบอร์ดประกันสังคม ว่า ตนเคยให้สัมภาษณ์ผ่านสื่อไปหลายครั้ง ว่าทำไมถึงให้อำนาจรัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการประกันสังคม ต้องเรียนให้ทราบว่าการทำประชาพิจารณ์ในยุคโควิด-19 มีการเขียนติ่งท้ายว่าถ้าเกิดเหตุสุดวิสัย ทั้งฝั่งนายจ้างและลูกจ้าง ไม่สามารถมาเลือกตั้งได้ ก็ให้รัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการสรรหา แต่ก่อนที่รัฐมนตรีจะแต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาต้องผ่านบอร์ดตามมาตรา 8 และบอร์ดต้องอนุมัติมาตรา 9 . ดังนั้น ตามหลัก ต้องเรียนว่ารัฐมนตรีไม่มีอำนาจที่จะตั้งหรือเลือกใครเข้ามา ซึ่งเรื่องนี้ตนพยายามเร่งนำเข้า ครม. เพื่อปรับส่วนที่ติ่งท้าย หากเรื่องนี้เข้าสู่ที่ประชุม ครม. ขั้นต่อไปก็สามารถแก้ไขในชั้น กมธ.ได้ เช่น กรณีที่รัฐมนตรีตั้งกรรมการสรรหาบอร์ดประกันสังคมให้เอาออกไป ยกเว้นกรณีที่มีเหตุสุดวิสัยเท่านั้น ตนมั่นใจว่าท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติแต่ละท่านก็น่าจะทราบเรื่องนี้ดี... อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : https://www.prachachat.net/politics/news-1768583

กรมการจัดหางานเข้ม! ตรวจจับแรงงานต่างชาติทำงานอาชีพสงวน มั่นใจคนไทยได้สิทธิทำกินอย่างเป็นธรรม

กรมการจัดหางานเข้ม! ตรวจจับแรงงานต่างชาติทำงานอาชีพสงวน มั่นใจคนไทยได้สิทธิทำกินอย่างเป็นธรรม . นายสมชาย มรกตศรีวรรณ อธิบดีกรมการจัดหางาน เปิดเผยว่า นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้กำชับเจ้าหน้าที่กรมการจัดหางานให้ดำเนินการ ตรวจสอบ ป้องปราม และปราบปราม การทำงานของแรงงานข้ามชาติที่ฝ่าฝืนกฎหมาย โดยเฉพาะอาชีพที่สงวนไว้สำหรับคนไทย เพื่อให้ประชาชนมั่นใจว่าสิทธิในการประกอบอาชีพของคนไทยได้รับการคุ้มครอง ล่าสุด เจ้าหน้าที่กรมการจัดหางาน ร่วมกับกองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง และกองบัญชาการตำรวจท่องเที่ยว ลงพื้นที่ ย่านพระนคร กรุงเทพฯ เพื่อตรวจสอบแรงงานต่างชาติที่เข้ามาทำงานโดยผิดกฎหมาย หลังได้รับเบาะแสว่ามีชาวจีนเปิดร้านเช่าชุดไทยและให้บริการแต่งหน้าแก่นักท่องเที่ยว บริเวณวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของประเทศ . นายสมชาย กล่าวต่อว่า จากการลงพื้นที่ได้ตรวจสอบร้านเช่าชุดไทย 6 ร้าน พบว่า 1 ร้าน กระทำผิดกฎหมาย โดยมีแรงงานข้ามชาติสัญชาติจีน 2 ราย ทำงานเป็นครูสอนแต่งหน้าโดยไม่มีใบอนุญาต เจ้าหน้าที่จึงควบคุมตัวส่งพนักงานสอบสวน สน.พระราชวัง ดำเนินคดีตามกฎหมาย ในข้อหาเป็นแรงงานต่างด้าวทำงานโดยไม่มีใบอนุญาต มีความผิดตามมาตรา 8 มีโทษตามมาตรา 101 แห่ง พ.ร.ก. การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 และมีโทษตามมาตรา 102 แห่ง พ.ร.ก. ฉบับเดียวกัน ซึ่งบทลงโทษสำหรับแรงงานที่ไม่มีใบอนุญาตทำงาน ปรับ 5,000 – 50,000 บาท ถูกส่งกลับประเทศต้นทาง และถูกห้ามขอใบอนุญาตทำงานในไทยเป็นเวลา 2 ปี ส่วนนายจ้างที่รับแรงงานผิดกฎหมาย ปรับ 10,000 – 100,000 บาท ต่อแรงงานต่างด้าว 1 คน หากกระทำผิดซ้ำ โทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับ 50,000 – 200,000 บาท ต่อแรงงาน 1 คน และ ถูกห้ามจ้างแรงงานต่างด้าวเป็นเวลา 3 ปี . “กรมการจัดหางาน ขอเน้นย้ำว่าจะเดินหน้าตรวจสอบอย่างเข้มงวด เพื่อป้องกันการทำงานที่ผิดกฎหมาย คุ้มครองสิทธิแรงงานไทย และสร้างความเป็นธรรมในการทำมาหากิน พร้อมขอให้ประชาชน แจ้งเบาะแสแรงงานต่างด้าวที่ลักลอบทำงานผิดกฎหมาย มาที่กองทะเบียนจัดหางานกลางและคุ้มครองคนหางาน กรมการจัดหางาน อาคารกระทรวงแรงงาน ชั้น 4 โทร. 0 2354 1729 หรือที่สำนักงานจัดหางานจังหวัดทุกจังหวัด สำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10 หรือที่สายด่วนกระทรวงแรงงาน โทร.1506 กด 2 กรมการจัดหางาน หรือสายด่วนกรมการจัดหางาน โทร 1694” นายสมชาย กล่าว

แรงงานต่างด้าว 5 ประเภท ลงทะเบียนในไทยทะลุ 2 ล้านคน พม่ามากสุด

แรงงานต่างด้าว 5 ประเภท ลงทะเบียนในไทยทะลุ 2 ล้านคน พม่ามากสุด . แรงงานต่างด้าวทะลักไทย สถิติพุ่ง ล่าสุดพบแรงงาน 5 ประเภทขึ้นทะเบียน 2.7 ล้านคน โดยกลุ่มที่มีจำนวนสูงสุดเป็นแรงงานต่างด้าวตามมติ ครม. ที่ต้องต่ออายุก่อน 13 ก.พ. 68 แต่มีแรงงานต่างด้าวอีกจำนวนมากหลุดจากระบบเป็นแรงงานเถื่อน โดยเฉพาะชาวเมียนมา ซึ่งสงครามภายในประเทศยากจะสงบ . สมชาย มรกตศรีวรรณ อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวว่า ไทยมีความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจต่อเนื่อง เป็นผลให้นายจ้าง และสถานประกอบการ ทั้งเกษตรกรรม อุตสาหกรรมและบริการ มีความต้องการกำลังแรงงานเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งแรงงานประเภททั่วไป ที่คนไทยไม่นิยมทำ เช่น งานในลักษณะของกรรมกร . งานลักษณะดังกล่าวมีความขาดแคลน และต้องการกำลังแรงงานจำนวนมาก ทำให้มีแรงงานข้ามชาติจากประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม เคลื่อนย้ายเข้าสู่ไทย เพื่อเข้ามาทำงานดังกล่าว ทั้งที่เข้ามาทำงานอย่างถูกต้องตามกฎหมายและที่ลักลอบเข้าเมือง โดยสถานการณ์แรงงานข้ามชาติในประเทศไทย จากฐานข้อมูลกรมการจัดหางาน ณ วันที่ 25 เดือนธันวาคม 2567 แรงงานข้ามชาติที่ได้รับอนุญาตทำงานทั่วราชอาณาจักร มีจำนวนทั้งสิ้น 2,715,500 คน ข้อมูลจาก : ไทยรัฐออนไลน์

“สมศักดิ์” จ่อรื้อระบบสาธารณสุขคนต่างด้าว เข้า ครม. กุมภาพันธ์นี้

“สมศักดิ์” จ่อรื้อระบบสาธารณสุขคนต่างด้าว เข้า ครม. กุมภาพันธ์นี้ . “สมศักดิ์” เผย สธ. พร้อมดูแลผู้ลี้ภัย หลัง “ทรัมป์” ตัดงบช่วยเหลือ จ่อรื้อระบบใหม่ ชงเข้า ครม. ช่วง ก.พ.นี้ เหตุคนไทยโวยถูกต่างด้าวแย่งสิทธิ รับ โดน “บิ๊กในรัฐบาล” จี้ให้ทำ . วันที่ 28 มกราคม 2568 ที่ทำเนียบรัฐบาล นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า หลังจาก นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ได้ประกาศนโยบายว่าจะระงับความช่วยเหลือผู้ลี้ภัยที่กระจายอยู่ตามประเทศต่างๆ ทั่วโลกเป็นเวลา 90 วัน ตนเข้าใจว่าผู้ลี้ภัยที่อยู่ในชายแดนไทย มี 9 แห่ง จำนวนมากกว่า 1 แสนคน แต่ในส่วนการดำเนินการของค่ายผู้ลี้ภัย มีเงินช่วยเหลือจากองค์กรระหว่างประเทศ หากนายทรัมป์ หยุดการช่วยเหลือ หรือจะปฏิบัติต่อไปอย่างไร ก็ต้องคอยติดตาม . นายสมศักดิ์ กล่าวต่อไปว่า กระทรวงสาธารณสุขตระหนักมาตลอดว่าคนไทยเสียสิทธิ ถูกชาวต่างชาติมาแย่งสิทธิการดูแลรักษาพยาบาล จึงคิดว่าถึงเวลาปรับสิ่งเหล่านี้ให้เข้ารูปเข้ารอยเสียที เพราะคนต่างด้าวนับล้านคนที่เข้ามาอยู่ในประเทศไทย ส่วนหนึ่งมาเป็นแรงงานถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งกระทรวงแรงงานดูแลได้ดีอยู่แล้ว แต่ในส่วนแรงงานที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย อาทิ กลุ่มผู้ลี้ภัย กลุ่มเข้าเมืองผิดกฎหมาย กลุ่มรอพิสูจน์สัญชาติ ซึ่งกลุ่มนี้มีอยู่ 7 แสนคน และกลุ่มที่รอขึ้นทะเบียนแรงงานมีอีกนับล้านคน ดังนั้น จะพูดถึงเฉพาะผู้ลี้ภัยที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายของนายทรัมป์ อย่างเดียวไม่ได้ การดูแลช่วยเหลือต่างๆ ต้องทำทั้งหมด . ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขอยากจะเคลียร์ปัญหา เพราะผู้ใหญ่ในรัฐบาลก็จี้ให้ตนแก้ปัญหาตรงนี้ให้หมด เพราะกระทบสิทธิการรักษาพยาบาลของคนในประเทศ คนที่เข้ามารักษาในโรงพยาบาลรัฐโดนแย่งคิว ซึ่งตนจะจัดการและทำเรื่องนี้ให้เรียบร้อย โดยจะนำเรื่องเข้าคณะรัฐมนตรี (ครม.) ภายในเดือนกุมภาพันธ์ . นายสมศักดิ์ กล่าวอีกว่า ส่วนผู้ลี้ภัยเราคงทอดทิ้งไม่ได้ในเมื่อเขามาอยู่ตรงนี้ แต่ตนจะจัดการในส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งหมด โดยเฉพาะเรื่องเข้าประเทศผิดกฎหมาย ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับกระทรวงแรงงาน อย่างไรก็ตาม ทุกวันนี้การที่กระทรวงสาธารณสุขขาดทุ จากการรักษาพยาบาลนับพันล้านคน เราต้องตั้งวงคุยกันว่าจะทำอย่างไร และขณะนี้มีแรงงานรอขึ้นทะเบียน ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขก็ทำอยู่แต่ยังไม่ครบ เพราะมติ ครม. ปรับไปมา เพราะฉะนั้นต้องทำให้นิ่งเสียที . เมื่อถามว่าหากนายทรัมป์ ไม่มอบเงินสนับสนุน แล้วจะนำเงินจากตรงไหนมา นายสมศักดิ์ ตอบว่า เป็นแค่ชั่วคราว จะไปไล่ส่งคงทำไม่ได้ ก็ต้องหวานอมขมกลืนไป แต่ต้องจัดแจงทุกอย่างให้เรียบร้อย ไม่ให้เราต้องควักเนื้อ ส่วนตัวเชื่อว่าทำได้ ทั้งที่เจ้าภาพหลักในการดูแลผู้ลี้ภัยไม่ใช่กระทรวงสาธารณสุข แต่ในเรื่องการรักษาพยาบาลทั้งหมด ไม่ว่าใครเราก็ต้องดูแล ซึ่งแรงงานถูกกฎหมายมีกองทุนประกันสังคมดูแลอยู่แล้ว แต่นอกเหนือจากนั้นกระทรวงสาธารณสุขต้องทำให้ชัดเจน จะได้ตอบคำถามสังคมได้ ขอบคุณข้อมูลจาก ไทยรัฐออนไลน์

พิพัฒน์ นั่งประธาน คบต. มติไม่ขยายระยะเวลา เร่งนายจ้างยื่นบัญชีรายชื่อภายใน 13 กุมภานี้

พิพัฒน์ นั่งประธาน คบต. มติไม่ขยายระยะเวลา เร่งนายจ้างยื่นบัญชีรายชื่อภายใน 13 กุมภานี้ . วันที่ 22 มกราคม 2568 เวลา 10.00 น. นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (คบต.) ครั้งที่ 2/2568 โดยมีนายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน นายสมชาย มรกตศรีวรรณ อธิบดีกรมการจัดหางาน ผู้บริหารกระทรวงแรงงาน และผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร สภาความมั่นคงแห่งชาติ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ร่วมประชุม ณ ห้องประชุม ศ.นิคม จันทรวิทุร ชั้น 5 กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน อาคารกระทรวงแรงงาน . นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า เนื่องจากมีความคืบหน้าจากการประชุมระดับวิชาการเมียนมา – ไทย เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2568 กระทรวงแรงงาน จึงได้ประชุมคณะกรรมการนโยบายการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (คบต.) ครั้งที่ 2/2568 ในวันนี้ขึ้น เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมแนวทางการดำเนินการ โดยที่ประชุมเห็นชอบให้ขยายระยะเวลาการต่ออายุใบอนุญาตทำงานของคนต่างด้าวในลักษณะ MOU ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2567 ดังนี้ 1. เร่งรัดให้นายจ้างยื่นบัญชีรายชื่อความต้องการจ้างแรงงานต่างด้าวของแรงงานสัญชาติกัมพูชาและเมียนมา ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 โดยไม่มีการขยายระยะเวลาให้ยื่นบัญชีรายชื่อความต้องการจ้างแรงงานต่างด้าวฯ 2. ผ่อนผันให้แรงงานสัญชาติกัมพูชาและเมียนมาที่นายจ้างได้ยื่นบัญชีรายชื่อความต้องการจ้างแรงงานต่างด้าวภายในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวและอนุญาตให้ทำงาน เป็นเวลา 6 เดือน ระหว่างวันที่ 14 กุมภาพันธ์ - 13 สิงหาคม 2568 เพื่อดำเนินการตามขั้นตอนต่างๆ ให้ครบถ้วน 3. ผ่อนผันให้แรงงานสัญชาติลาวและเวียดนามที่ได้รับอนุญาตทำงานตามมติคณะรัฐมนตรีถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์2568 อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว เป็นเวลา 3 เดือน ระหว่างวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2568 – 13 พฤษภาคม 2568 เพื่อให้นายจ้างยื่นบัญชีรายชื่อความต้องการจ้างแรงงานต่างด้าว พร้อมรูปถ่ายผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ และดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนด ซึ่งหลังจากนี้ กระทรวงแรงงาน จะนำผลการประชุมเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป . ด้านนายสมชาย มรกตศรีวรรณ อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวต่อว่า หลังจากนี้กระทรวงแรงงาน โดยกรมการจัดหางาน จะเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา ซึ่งแรงงานกลุ่มดังกล่าวจะได้รับการผ่อนผันเมื่อคณะรัฐมนตรี . มีมติเห็นชอบ และประกาศกระทรวงมหาดไทย และประกาศกระทรวงแรงงานมีผลบังคับใช้แล้วเท่านั้น ทั้งนี้ ขอให้นายจ้าง สถานประกอบการ และแรงงานข้ามชาติ เร่งดำเนินการทุกขั้นตอนให้ครบถ้วนภายในระยะเวลาที่กำหนด ระหว่างนี้หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1 – 10 หรือสำนักงานจัดหางานจังหวัดทั่วประเทศ หรือที่สายด่วนกระทรวงแรงงาน โทร 1506 กด 2 กรมการจัดหางานหรือสายด่วนกรมการจัดหางาน โทร. 1694

กรมแรงงาน ย้ำนายจ้างเร่งพาแรงงาน 4 สัญชาติต่ออายุภายใน 13 ก.พ.68พ้นกำหนดพบทำงานไม่มีใบอนุญาตเจอจับ ปรับ ส่งกลับประเทศ

กรมแรงงาน ย้ำนายจ้างเร่งพาแรงงาน 4 สัญชาติต่ออายุภายใน 13 ก.พ.68พ้นกำหนดพบทำงานไม่มีใบอนุญาตเจอจับ-ปรับ-ส่งกลับประเทศ . กระทรวงแรงงาน โดยกรมการจัดหางาน เน้นย้ำให้นายจ้างเร่งยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตทำงานให้กับแรงงานต่างด้าว 4 สัญชาติ กัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม ภายในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 เพื่อคุ้มครองสิทธิและสวัสดิภาพทั้งแรงงานและนายจ้าง พร้อมคุมเข้มบทลงโทษตามกฎหมาย เตือนนายจ้างที่รับแรงงานต่างด้าวที่ไม่มีใบอนุญาตทำงาน หรือใบอนุญาตทำงานหมดอายุเข้ามาทำงาน ต้องระวางโทษปรับสูงสุด 100,000 บาท ต่อคนต่างด้าว 1 คน และสำหรับแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานอย่างผิดกฎหมาย ต้องระวางโทษปรับสูงสุด 50,000 บาท พร้อมถูกส่งตัวกลับประเทศต้นทาง . เมื่อวันที่ 16 ม.ค.68 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า กระทรวงแรงงาน เห็นความสำคัญของการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย ทั้งในด้านการดูแลสิทธิประโยชน์ของแรงงานความเสมอภาคอย่างเท่าเทียมจึงมีนโยบายสนับสนุนการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าว 4 สัญชาติ ได้แก่ กัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม ซึ่งจากข้อมูล ณ วันที่ 25 พฤศจิกายน 2567 มีจำนวนแรงงานต่างด้าวประมาณ 2.4 ล้านคน ที่ใบอนุญาตทำงานจะหมดอายุในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 ดังนั้นขอเชิญชวนให้นายจ้างและแรงงานกลุ่มดังกล่าวเร่งดำเนินการยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตทำงานภายในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 เพื่อให้แรงงานสามารถอยู่และทำงานในประเทศไทยได้ต่อไป . นายสมชาย มรกตศรีวรรณ อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวเพิ่มเติมว่า การยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตทำงาน นอกจากจะช่วยให้แรงงานต่างด้าวสามารถทำงานหารายได้เลี้ยงชีพได้โดยถูกต้องตามกฎหมายแล้วยังเป็นหลักประกันว่าแรงงานเหล่านี้สามารถเข้าถึงสิทธิและความคุ้มครองทางกฎหมาย เนื่องจากประเทศไทยได้กำหนดบทลงโทษไว้อย่างเด็ดขาดสำหรับแรงงานต่างด้าวที่ลักลอบเข้ามาทำงาน กล่าวคือ แรงงานต่างด้าวที่ลักลอบทำงาน จะมีโทษปรับตั้งแต่ 5,000 – 50,000 บาท พร้อมถูกส่งตัวกลับประเทศต้นทาง และไม่สามารถขอรับใบอนุญาตทำงานได้เป็นเวลา 2 ปี . นอกจากนี้กฎหมายก็กำหนดบทลงโทษสำหรับนายจ้างเช่นเดียวกัน หากนายจ้างรับแรงงานต่างด้าวที่ไม่มีใบอนุญาตทำงาน หรือใบอนุญาตทำงานหมดอายุ เข้ามาทำงาน หรือให้ทำงานนอกเหนือจากที่มีสิทธิจะทำได้ จะมีโทษปรับตั้งแต่ 10,000 – 100,000 บาท ต่อคนต่างด้าวที่จ้าง 1 คน หรือหากกระทำผิดซ้ำ จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับ 50,000 – 200,000 บาท ต่อคนต่างด้าวที่จ้าง 1 คน หรือทั้งจำทั้งปรับ และห้ามจ้างแรงงานต่างด้าวเป็นเวลา 3 ปี โดยจากสถิติย้อนหลังประจำปีงบประมาณ 2567 ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2567 กรมการจัดหางานลงพื้นที่ตรวจสอบนายจ้าง/สถานประกอบการ 63,213 ราย/แห่ง พบการกระทำความผิดและได้ดำเนินคดีกับนายจ้าง/สถานประกอบการ รวม 2,156 ราย/แห่ง และได้มีการตรวจสอบคนต่างด้าว 851,194 คน พบการกระทำความผิดและได้ดำเนินคดี 4,563 คน มียอดค่าปรับที่ได้รับการชำระแล้ว รวมทั้งสิ้น 2,862,150 บาท . ทั้งนี้ กรมการจัดหางาน จึงขอเชิญชวนให้นายจ้างเร่งดำเนินการยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตทำงานตามแนวทางที่กรมการจัดหางานกำหนด ภายในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 เพื่อให้แรงงานต่างด้าวได้รับสิทธิในการอยู่และทำงานได้ถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2570 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานจัดหางานจังหวัด ทุกจังหวัด สำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานคร พื้นที่ 1 – 10 สายด่วนกระทรวงแรงงาน โทร 1506 กด 2 กรมการจัดหางาน หรือ สายด่วนกรมการจัดหางาน 1694 (ตลอด 24 ชั่วโมง) . ขอขอบคุณข้อมูลจาก: สยามรัฐ , กระทรวงแรงงาน

คุณพชรดณัย สัตนาโค กรรมการผู้จัดการโรงพยาบาลเออีซี พร้อมด้วยนายแพทย์สัจจพล พงษ์ภมร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารโรงพยาบาลเอเชียอินเตอร์

คุณพชรดณัย สัตนาโค กรรมการผู้จัดการโรงพยาบาลเออีซี พร้อมด้วยนายแพทย์สัจจพล พงษ์ภมร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารโรงพยาบาลเอเชียอินเตอร์เนชั่นแนล และที่ปรึกษาเข้าสวัสดีปีใหม่ ท่านบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน

โรงพยาบาลเออีซีนำโดย คุณพชรดณัย สัตนาโค กรรมการผู้จัดการ โรงพยาบาลเออีซีได้เข้าพบเพื่อสวัสดีปีใหม่ คุณมารศรี ใจรังษี

โรงพยาบาลเออีซีนำโดย คุณพชรดณัย สัตนาโค กรรมการผู้จัดการ โรงพยาบาลเออีซีได้เข้าพบเพื่อสวัสดีปีใหม่ คุณมารศรี ใจรังษี เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม

เตรียมพบกับโฉมใหม่ ของ “โรงพยาบาลเออีซี” พร้อมเปิดให้บริการ มกราคม 68 นี้

เตรียมพบกับโฉมใหม่ ของ “โรงพยาบาลเออีซี” พร้อมเปิดให้บริการ มกราคม 68 นี้ . ก้าวไปอีกขั้นกับการปรับเปลี่ยน รีโนเวทอาคาร สถานที่ เพื่อรองรับผู้มาใช้บริการ สร้างความสะดวกสบายและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน บริการต่าง ๆ ให้แก่ผู้มารับบริการ . ทั้งนี้ยังไม่แล้วเสร็จ ทางเราจะมาอัพเดทความสวยงามอีกทั้งให้ทุกท่านได้ชมกันนะคะ . โรงพยาบาลเออีซี AEC Hospital “การรักษาพยาบาล ที่ไร้พรมแดน”

ทำไมแรงงานต่างด้าง ถึงต้องตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี

ทำไมแรงงานต่างด้าง ถึงต้องตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี . ในปัจจุบันคงปฏิเสธไม่ได้ว่าเรื่องสุขภาพเป็นเรื่องสำคัญไม่ใช่สำหรับบางคนหรือบางกลุ่มเท่านั้น สำหรับเราแล้วเรื่องสุขภาพสำคัญกับทุกคนทุกเชื้อชาติ แน่นอนว่าผู้ที่เป็นแรงงานต่างด้าวเองย่อมต้องการสุขภาพที่ดี ห่างไกลจากโรคร้ายเช่นเดียวกับบุคคลอื่น ๆ การตรวจสุขภาพจึงเป็นสิ่งที่เราแนะนำ แล้วทำไมแรงงานต่างด้าวจึงต้องควรตรวจสุขภาพล่ะ ? ในวันนี้ โรงพยาบาลเออีซี (aechospital) จะมาแบ่งปันข้อมูลเรื่องนี้กันครับ . สุขภาพเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องให้ความสำคัญแรงงานต่างด้าวเองต้องทำงานอยู่ในเมืองใหญ่ที่มีสภาวะอากาศไม่ปลอดโปร่งเหมือนแต่ก่อนด้วยฝุ่น PM 2.5 ดังนั้นจึงควรป้องกันด้วยการสวมหน้ากากอนามัย นอกจากนี้เพื่อความมั่นใจในร่างกายของตนเองจึงควรเข้ารับการตรวจสุขภาพเพื่อดูความสมบูรณ์ของร่างกายด้วย ไม่เพียงแค่เท่านั้นตลอดเวลาที่ผ่านมายังมีโรคระบาดที่เกิดขึ้นมาเรื่อย ๆ ในหลาย ๆ ครั้งอาจมียาที่สามารถรักษาได้ แต่ในบางครั้งก็ไม่มียารักษาเช่นกัน ยิ่งเป็นแบบนี้ยิ่งทำให้เห็นว่าการตรวจสุขภาพสำคัญเพียงใด หากเราละเลยการตรวจสุขภาพจะทำให้เราไม่รู้ถึงรายละเอียดของร่างกายตนเองและภาวะเสี่ยงโรคที่ซ่อนอยู่ เนื่องจากบางโรคต้องตรวจก่อนจึงจะพบและทำการรักษาต่อไปได้ . ฟันเฟืองสำคัญของสถานประกอบการ สถานประกอบการน้อยใหญ่หลายแห่งต้องพึ่งแรงงานต่างด้าวในการทำงาน หากขาดพวกเขาจะส่งผลต่อกิจการได้โดยตรงยิ่งในช่วงที่สภาพอากาศที่เต็มไปด้วย PM 2.5 หรือโรคระบาดที่เกิดขึ้นยิ่งทำให้เกิดความสุ่มเสี่ยงต่อทุกคนในสถานประกอบการ หากสถานประกอบการละเลยเรื่องสุขภาพของแรงงานต่างด้าวจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง คุณลองคิดภาพคนงาน 1 คนติดเชื้อไวรัสที่สามารถแพร่ระบาดได้ โดยไวรัสดังกล่าวแทบจะไม่แสดงอาการใด ๆ ให้เราสังเกตเห็นได้เลย และในเวลาต่อมาเพียงไม่กี่วันไวรัสดังกล่าวแพร่กระจายไปยังคนงานใกล้เคียงไปหลายคน ก่อนที่หลังจากนั้นคนงานที่ติดเชื้อคนแรกจะแสดงอาการออกมาจนสังเกตเห็นได้ แล้วพนักงานคนอื่น ๆ ล่ะ ? คงจะดีกว่าหากพนักงานทุกคนไม่ว่าจะเป็นต่างด้าวหรือไม่ได้รับการตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอราคาที่เอื้อมถึงได้ หลาย ๆ คนอาจเห็นว่าโปรแกรมตรวจสุขภาพมีราคาที่แตกต่างกัน และอาจคิดว่าการตรวจสุขภาพสำหรับแรงงานต่างด้าวอาจมีราคาสูง ในความเป็นจริงแล้วไม่ได้เป็นเช่นนั้น เพื่อเพิ่มความมั่นใจ รวมถึงความปลอดภัยให้กับสถานประกอบการและเพื่อสุขภาพที่ดีของแรงงานต่างด้าว เราได้จัดโปรแกรมตรวจสุขภาพในราคาเพียง 500 บาทเท่านั้น เพื่อให้ทุกคนได้มีสุขภาพที่ดี เพราะเราอยากให้ทุกคนมองว่าสุขภาพเป็นสิ่งสำคัญ . ใบรับรองแพทย์สำหรับแรงงานต่างด้าว ในการขอรับใบรับรองแพทย์ถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับแรงงานต่างด้าว เนื่องจากจำเป็นต้องนำไปยื่นเพื่อดำเนินการขอใบอนุญาตในการทำงานที่กระทรวงแรงงานต่อไป โดยผู้เข้ารับการตรวจสามารถยืนยันตัวตนเพื่อตรวจสุขภาพโดยใช้ Passport เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ดังนั้นหากไม่ทำการตรวจสุขภาพก็เท่ากับว่าจะไม่มีใบรับรองแพทย์เพื่อใช้ยื่นขอใบอนุญาตในการทำงานนั่นเอง

โรงพยาบาลเออีซีร่วมกับโรงพยาบาลเอเซียอินเตอร์เนชั่นแนลให้บริการตรวจสุขภาพแรงงานต่างด้าว Work Permit ประจำปี 2568 เเละตรวจสุขภาพผู้ประกันตนฟรี 14 รายกา

โรงพยาบาลเออีซีร่วมกับโรงพยาบาลเอเซียอินเตอร์เนชั่นแนลให้บริการตรวจสุขภาพแรงงานต่างด้าว Work Permit ประจำปี 2568 เเละตรวจสุขภาพผู้ประกันตนฟรี 14 รายการ . สนใจตรวจสุขภาพติดต่อสอบถามหรือ นัดหมายจองคิวได้ที่ 061-350-6197 082 423 6628 คุณเนย์ 064 249 5494 คุณตุ๊ก . สามารถติดตามความรู้เกี่ยวกับสุขภาพหรือข่าวสารต่างๆของโรงพยาบาลเออีซีได้ที่ เพจ Facebook โรงพยาบาลเออีซี พร้อมเปิดให้บริการแบบเต็มรูปแบบเร็ว ๆ นี้ โรงพยาบาลเออีซี AEC Hospital “การรักษาพยาบาล ที่ไร้พรมแดน”

“พิพัฒน์” พร้อมจดทะเบียนแรงงานกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม และต่ออายุใบอนุญาต ขอให้นายจ้างเตรียมเอกสารให้พร้อม

“พิพัฒน์” พร้อมจดทะเบียนแรงงานกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม และต่ออายุใบอนุญาต ขอให้นายจ้างเตรียมเอกสารให้พร้อม . นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า กระทรวงแรงงาน โดยกรมการจัดหางาน เตรียมจดทะเบียนตามประกาศกระทรวงมหาดไทย 2 ฉบับ ซึ่งเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 ก.ย. 67 เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวตามนโยบายรัฐบาล ดูแลสิทธิและประโยชน์ของแรงงาน ลดปัญหาการถูกเลือกปฏิบัติตลอดจนการตกเป็น เหยื่อการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน และได้ดูแลครอบคลุมไปถึงผู้ติดตาม ซึ่งเป็นบุตรของแรงงานให้ได้รับการคุ้มครองตามหลักมนุษยธรรม ขั้นตอนล่าสุดอยู่ระหว่างการนำเสนอให้นายกรัฐมนตรีลงนาม ก่อนประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป เนื่องจากเป็นประกาศกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 ต้องลงนามโดยนายกรัฐมนตรี และ รมว.มหาดไทย รมว. “พิพัฒน์” กล่าวต่อว่า ประกาศฉบับที่ 1 ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักร เป็นกรณีพิเศษ สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม (การจดทะเบียน คนใหม่) ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2567 ประกาศฯ ฉบับนี้ เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วจะมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 2 พ.ย. 67 เป็นต้นไป ฉบับที่ 2 ประกาศกระทรวงมหาดไทย . เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะ สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม ซึ่งได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 (กลุ่มต่ออายุใบอนุญาต) ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2567 สำหรับประกาศฯ ฉบับนี้ เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว จะมีผลตั้งแต่วันที่ 15 พ.ย. 67 เป็นต้นไป . ด้านนายสมชาย มรกตศรีวรรณ อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับสาระสำคัญของประกาศ ดังกล่าว คือ ฉบับแรก ผ่อนผันให้แรงงานทั้ง 4 สัญชาติ กัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม กลุ่มที่การอนุญาตให้อยู่หรือทำงานอยู่ในราชอาณาจักรสิ้นสุดลงโดยผลของกฎหมาย กลุ่มที่ได้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรโดยได้รับอนุญาต แต่ทำงานกับนายจ้างโดยไม่ได้รับอนุญาต และกลุ่ม 3 สัญชาติ (กัมพูชา ลาว และเมียนมา) ที่เข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย ถึง 30 ธ.ค. 67 เพื่อดำเนินการขออนุญาตทำงานตามที่ประกาศกระทรวงแรงงานกำหนด เมื่อดำเนินการตามที่กำหนดแล้วจะสามารถอยู่และทำงานเป็นการชั่วคราวได้เป็นระยะเวลา 1 ปี ถึงวันที่ 31 มี.ค. 69 รวมถึงผู้ติดตามซึ่งเป็นบุตรคนต่างด้าวที่มีอายุไม่เกิน 18 ปี ให้มีสิทธิอยู่ตามสิทธิของคนต่างด้าวที่เป็นบิดา หรือ มารดา โดยให้ไปปรับปรุงทะเบียนประวัติตามกฎหมายว่าด้วยทะเบียนราษฎร หากผู้ติดตามมีอายุ ครบ 18 ปี และประสงค์ทำงานกับนายจ้างให้คนต่างด้าวสามารถอยู่ในประเทศไทยอีก 60 วัน เพื่อยื่นขออนุญาตทำงาน ส่วนฉบับที่ 2 กำหนดให้คนต่างด้าว 4 สัญชาติ กัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม ที่ได้รับอนุญาตทำงานถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 ดำเนินการต่ออายุใบอนุญาตทำงานในลักษณะ MOU เพื่อให้สามารถทำงานเป็นเวลา 2 ปี ถึง 13 ก.พ. 70 . และต่ออายุได้อีกครั้ง เป็นระยะเวลา 2 ปี ถึง 13 ก.พ. 72 ครอบคลุมถึงผู้ติดตามคนต่างด้าว (บุตรของแรงงานต่างด้าว) ซึ่งมีอายุไม่เกิน 18 ปี สามารถอยู่ในประเทศได้เท่ากับระยะเวลาที่บิดามารดาของผู้นั้นได้รับอนุญาต โดยจะต้องไปปรับปรุงทะเบียนประวัติตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร หากผู้ติดตามมีอายุครบ 18 ปี และประสงค์จะทำงาน ให้ไปปรับปรุงทะเบียนประวัติตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร และดำเนินการตามกฎหมายการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวต่อไป . ทั้งนี้ สำหรับกำหนดวันเริ่มดำเนินการจดทะเบียนแรงงาน 4 สัญชาติ กรมการจัดหางานจะประชาสัมพันธ์ให้นายจ้าง สถานประกอบการ และแรงงานต่างชาติทราบต่อไป ขอให้ติดตามข่าวสารจากกรมการจัดหางานอย่างใกล้ชิด ที่เว็บไซต์กรมการจัดหางาน doe.go.th หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1 – 10 หรือสำนักงานจัดหางานจังหวัดทั่วประเทศ หรือที่สายด่วนกระทรวงแรงงาน โทร. 1506 กด 2 กรมการจัดหางาน และสายด่วนกรมการจัดหางาน โทร. 1694

โรงพยาบาลเออีซี

เลขที่ 5/107 หมู่ 1 ตำบลห้วยกะปิ อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี ห้วยกะปิ เมือง ชลบุรี 20000

061-350-6197

           

แผนที่และการเดินทาง

โรงพยาบาลเออีซี

เลขที่ 5/107 หมู่ 1 ตำบลห้วยกะปิ อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี ห้วยกะปิ เมือง ชลบุรี 20000

   061-350-6197

              

ฝากข้อความติดต่อกลับ

กดติดตามรับข่าวสาร

Copyrights © 2025 All Rights Reserved. www.aechospital.com Version 1.0. Designed by WEB-BEE-DEV. +68,456 Times.