หน้าหลัก แพ็กเกจและโปรโชั่น
โรงพยาบาลเออีซี AEC Hospital พร้อมเปิดให้บริการแบบเต็มรูปแบบเร็ว ๆ นี้
โรงพยาบาลเออีซี AEC Hospital “การรักษาพยาบาล ที่ไร้พรมแดน” โรงพยาบาลเออีซี เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2567 เป็น โรงพยาบาลระดับทุติยภูมิขนาด 30 เตียง บริหารงานโดย บริษัทเออีซี เมดิคอลเซ็นเตอร์ จำกัด โรงพยาบาลเออีซี เป็นโรงพยาบาลที่ทำการรักษา ทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติ โดยเน้น บริการกลุ่มตรวจ ร่างกายทุกประเภท ทั้ง รูปแบบในโรงพยาบาล(Walk in) และบริการนอกสถานที่ (Mobile check up)และ รักษาพยาบาลผู้ป่วยนอก(OPD)ผู้ป่วยใน(IPD)ในกลุ่มโรคง่ายๆไม่ซับช้อน(Simpledisease)หรือกลุ่มผู้ป่วย อุบัติเหตุฉุกเฉินเช่นกลุ่มผู้ประสบภย์จากรถ(พรบ.)และอุบัติเหตุจากการทำงาน(กองทุนเงินทดแทน) พร้อมทั้ง เปิดให้บริการ 24 ชั่วโมงมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทุกโรคทุกสาขา ได้แก่ อายุรศาสตร์ศัลยศาสตร์ สูติ บรีเวชวิทยา กุมารเวชศาสตร์ ออร์โรปิดิกและบริการฟอกโลหิต (ไตเทียม) และกรณีอุบัติเหตุฉุกเฉิน มีบริการรถพยาบาลรับ ส่ง ผู้ป่วยตลอด 24 ชั่วโมง ด้วยความปลอดภัย ตามมาตรฐานวิชาชีพโดยทีมแพทย์และพยาบาลผู้เชี่ยวชาญ • ศูนย์แพทย์เฉพาะทางครบทุกสาขา • ศูนย์อุบัติเหตุฉุกเฉิน 24 ชั่วโมง • จำนวนเตียงรับผู้ป่วยใน 30 เตียง • เปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง • ตรวจร่างกายแรงงานต่างด้าว เฉลี่ย 10,000 ราย/ปี • ตรวจร่างกายนอกสถานที่บริษัท เฉลี่ย 15,000 ราย/ปี แนวคิดทางธุรกิจ (Business Thinking & Concept) จังหวัดชลบุรี เป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ระดับประเทศมีนิคมอุตสาหกรรมหลายแห่งตั้งอยู่ เช่น นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร,นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง,นิคมอุตสาหกรรม ปิ่นทอง,นิคมอุตสาหกรรมเหมราช เป็นต้น และยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงระดับโลก เช่นชายหาดพัทยา ,ชายหาดบางแสน ฯลฯ นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์กลางคมนาคมและการเชื่อมโยงระบบขนส่ง จังหวัดชลบุรีมีผลิตภัณฑ์จังหวัด (GDP) 1,009,363 ล้านบาท เป็นอันดับ2 ของประเทศ มีประชากรประมาณ 1,583,672 คน(ข้อมูลปี 2566) มีประชา กรมากเป็นอันดับ 6 ของประเทศและประชากรแฝง ประมาณ 1 2 ล้านคน ส่วนใหญ่ประชากรแฝงเป็นกลุ่มพนักงาน และลูกจ้างในบริษัท /สถานประกอบการ ซึ่งมีสวัสดิการรักษาพยาบาลหลักโดยใช้สิทธิ์ประกันสังคม และประกันสุขภาพกลุ่ม (Group insurance) นอกจากนี้ยังมีกลุ่มคนไทยและต่างด้าว ที่จะต้องมีการตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน (Work permit) และ การตรวจร่างกายประจำปี (Annual Check up) ซึ่งในปัจจุบันมีเพียงโรงพยาบาลรัฐบาล และโรงพยาบาลเอกชนขนาดใหญ่รองรับเท่านั้น AECHospital มีแนวคิดจัดตั้งโรงพยาบาลเพื่อรองรับลูกค้ากลุ่มดังกล่าว โดยเน้นบริการกลุ่มตรวจร่างกายทุกประเภท ทั้งรูปแบบในโรงพยาบาล (Walkin) และบริการนอกสถานที่ (Mobile chedkup)และรักษาพยาบาลผู้ป่วยนอก (OPD) ผู้ป่วยใน(IPD) ในกลุ่มโรคง่ายๆไม่ซับซ้อน (Simple disease)หรือ กลุ่มผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉิน เช่น กลุ่มผู้ประสบภัยจากรถ(พรบ.) และ อุบัติเหตุจากการทำงาน (กองทุนเงินทดแทน) โดยใช้กลยุทร์หลัก เป็นโรงพยาบาลเอกชนที่มีคุณภาพ เข้าถึงบริการได้ง่ายแต่ราคาเหมาะสม พร้อมเปิดให้บริการแบบเต็มรูปแบบเร็ว ๆ นี้ โรงพยาบาลเออีซี AEC Hospital “การรักษาพยาบาล ที่ไร้พรมแดน”
ตรวจเช็คสิทธิประกันสังคมก่อนหมดปี ว่าเรายังเหลืออะไรบ้าง
สิทธิประโยชน์สำหรับผู้ประกันตน มาตรา 33 สิทธิประโยชน์ที่ผู้ประกันตน มาตรา 33 จะได้รับ สามารถแบ่งออกได้เป็น 7 กรณี ดังนี้ 1. กรณีเจ็บป่วย ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับค่าส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ตามหลักเกณฑ์และอัตราที่คณะกรรมการการแพทย์ฯ กำหนด ซึ่งรวมถึงการฉีดวัคซีนตามสถานการณ์การระบาดของโรคที่กำหนดขึ้นในแต่ละปี โดยสามารถเข้ารับบริการได้ ณ สถานพยาบาลที่สำนักงานประกันสังคมกำหนดสิทธิ เจ็บป่วยปกติ สามารถเข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลตามสิทธิหรือเครือข่ายของสถานพยาบาลนั้นได้ฟรี โดยไม่ต้องสำรองค่าใช้จ่าย ทั้งผู้ป่วยนอก (OPD) และผู้ป่วยใน (IPD) ประสบอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยฉุกเฉิน กรณีเข้ารักษาพยาบาลที่สถานพยาบาลรัฐ: ผู้ป่วยนอก (OPD) เบิกค่ารักษาพยาบาลได้ตามที่จ่ายจริง ผู้ป่วยใน (IPD) เบิกค่ารักษาพยาบาลได้ตามที่จ่ายจริง ภายในระยะเวลาไม่เกิน 72 ชั่วโมง ทั้งนี้ไม่นับรวมวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์ กรณีเข้ารักษาพยาบาลที่สถานพยาบาลเอกชน: ผู้ป่วยนอก (OPD) เบิกค่ารักษาพยาบาลได้ตามที่จ่ายจริง ไม่เกิน 1,000 บาท หรือ เกิน 1,000 บาทได้ หากมีการตรวจรักษาตามรายการในประกาศของคณะกรรมการการแพทย์ ผู้ป่วยใน (IPD) กรณีที่ไม่ได้รักษาในห้อง ICU เบิกค่ารักษาพยาบาลได้ไม่เกินวันละ 2,000 บาท ค่าห้องและค่าอาหาร ไม่เกินวันละ 700 บาท และสำหรับกรณีที่รักษาในห้อง ICU เบิกค่ารักษาพยาบาล ค่าห้อง และค่าอาหาร ได้รวมไม่เกินวันละ 4,500 บาท ผ่าตัดใหญ่ เบิกได้ไม่เกินครั้งละ 8,000 16,000 บาท ค่ายา และค่าอุปกรณ์ เบิกได้ไม่เกิน 4,000 บาท ค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการ และค่าเอกซเรย์ เบิกได้ไม่เกิน 1,000 บาท ประสบอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต เข้ารับบริการทางการแพทย์ที่สถานพยาบาลใกล้เคียงได้ทุกแห่ง โดยไม่ต้องสำรองค่าใช้จ่าย ภายในระยะเวลา 72 ชั่วโมง ทั้งนี้ นับรวมวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์ ทันตกรรม ถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูน และผ่าฟันคุด รับค่าบริการทางการแพทย์ตามที่จ่ายจริง ไม่เกิน 900 บาท/ปี ฟันเทียมชนิดถอดได้บางส่วน รับค่าบริการทางการแพทย์ และค่าฟันเทียมตามที่จ่ายจริง โดย 1 5 ซี่ จะได้รับเงินไม่เกิน 1,300 บาท และมากกว่า 5 ซี่ ขึ้นไป จะได้รับเงินไม่เกิน 1,500 บาท ฟันเทียมชนิดถอดได้ทั้งปาก กรณีฟันปลอมชนิดถอดได้ทั้งปากบนหรือล่าง รับค่าบริการทางการแพทย์ และค่าฟันเทียมตามที่จ่ายจริง ไม่เกิน 2,400 บาท และกรณีฟันปลอมชนิดถอดได้ทั้งปากบนและล่าง ไม่เกิน 4,400 บาท ภายในระยะเวลา 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ใส่ฟันเทียม ทั้งนี้ ผู้ประกันตนต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่ต่ำกว่า 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนวันรับบริการทางการแพทย์ จึงจะได้รับสิทธิ 2. กรณีคลอดบุตร ผู้ประกันตนหญิง ได้รับเงินค่าคลอดบุตร 15,000 บาท ไม่จำกัดสถานพยาบาลและจำนวนครั้ง พร้อมรับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อคลอดบุตร 50% ของค่าจ้างเฉลี่ยเป็นเวลา 90 วัน (สำหรับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อคลอดบุตร สามารถเบิกได้สูงสุดไม่เกิน 2 ครั้ง) ผู้ประกันตนชาย ซึ่งมีภรรยาที่จดทะเบียนโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือมีหญิงที่อยู่กินกันฉันสามีภรรยา รับเงินค่าคลอดบุตร 15,000 บาท พร้อมเบิก ค่าตรวจและฝากครรภ์ ได้สูงสุด 1,500 บาท ทั้งนี้ ผู้ประกันตนต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่ต่ำกว่า 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนเดือนคลอดบุตร จึงจะได้รับสิทธิ และในกรณีที่ทั้งสามีและภรรยาเป็นผู้ประกันตน ให้เลือกใช้สิทธิในการเบิกค่าคลอดบุตรฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง โดยไม่จำกัดจำนวนบุตรหรือครั้งในการเบิก 3. กรณีทุพพลภาพ เงินทดแทนการขาดรายได้ ทุพพลภาพระดับเสียหายไม่รุนแรง รับเงินทดแทนการขาดรายได้ 30% หรือในส่วนที่ลดลง ไม่เกิน 30% ของค่าจ้างรายวันตามมาตรา 57 ไม่เกิน 180 เดือน ทุพพลภาพระดับเสียหายรุนแรง รับเงินทดแทนการขาดรายได้ 50% ของค่าจ้างรายวันตามมาตรา 57 ตลอดชีวิต ค่าบริการทางการแพทย์ กรณีเจ็บป่วยปกติ: เข้ารักษาพยาบาลที่สถานพยาบาลรัฐ – ผู้ป่วยนอก (OPD) รับค่าบริการทางการแพทย์ตามที่จ่ายจริง และผู้ป่วยใน (IPD) เข้ารับบริการได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เข้ารักษาพยาบาลที่สถานพยาบาลเอกชน – ผู้ป่วยนอก (OPD) รับค่าบริการทางการแพทย์ตามที่จ่ายจริง ไม่เกินเดือนละ 2,000 บาท และผู้ป่วยใน (IPD) ไม่เกินเดือนละ 4,000 บาท กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต: เข้ารับบริการทางการแพทย์ที่สถานพยาบาลใกล้เคียงได้ทุกแห่ง โดยไม่ต้องสำรองค่าใช้จ่าย ภายในระยะเวลา 72 ชั่วโมง นับรวมวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์ ทั้งนี้ ผู้ประกันตนต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่ต่ำกว่า 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนทุพพลภาพ (ที่ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการทำงาน) จึงจะได้รับสิทธิ 4. กรณีเสียชีวิต จ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 36 เดือนขึ้นไป แต่ไม่ถึง 120 เดือน รับเงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิต 50% ของค่าจ้างเฉลี่ย 4 เดือน พร้อมรับค่าทำศพ 50,000 บาท จ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 120 เดือนขึ้นไป รับเงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิต 50% ของค่าจ้างเฉลี่ย 12 เดือน พร้อมรับค่าทำศพ 50,000 บาท ทั้งนี้ ผู้ประกันตนต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่ต่ำกว่า 1 เดือน ภายในระยะเวลา 6 เดือน ก่อนเสียชีวิต จึงจะได้รับสิทธิ 5. กรณีชราภาพ เงินบำนาญชราภาพ คือ เงินที่ทยอยจ่ายเป็นรายเดือนตลอดชีวิต จ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือน (15 ปี) รับเงินบำนาญชราภาพรายเดือน 20% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย จ่ายเงินสมทบมากกว่า 180 เดือน (15 ปีขึ้นไป) รับเงินบำนาญชราภาพรายเดือนเพิ่ม 1.5% จากอัตรา 20% ในทุก 12 เดือน เงินบำเหน็จชราภาพ คือ เงินที่จ่ายเป็นก้อนครั้งเดียว จ่ายเงินสมทบต่ำกว่า 12 เดือน รับเงินบำเหน็จชราภาพเท่ากับจำนวนเงินสมทบเฉพาะในส่วนของผู้ประกันตน เพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ จ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป รับเงินบำเหน็จชราภาพเท่ากับจำนวนเงินสมทบที่ผู้ประกันตนและนายจ้างจ่ายสมทบ เพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ พร้อมผลตอบแทนตามที่สำนักงานประกันสังคมกำหนด กรณีผู้รับเงินบำนาญชราภาพเสียชีวิตภายใน 60 เดือน นับตั้งแต่เดือนที่มีสิทธิได้รับเงินบำนาญชราภาพ จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ 10 เท่าของเงินบำนาญชราภาพรายเดือนที่ได้รับครั้งสุดท้ายก่อนเสียชีวิต ทั้งนี้ ผู้ประกันตนต้องมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง หรือเป็นผู้ทุพพลภาพ หรือเสียชีวิต จึงจะได้รับสิทธิ 6. กรณีสงเคราะห์บุตร รับเงินค่าสงเคราะห์บุตรคนละ 800 บาท/เดือน โดยต้องเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายที่มีอายุไม่เกิน 6 ปีบริบูรณ์ ครั้งละไม่เกิน 3 คน ทั้งนี้ ผู้ประกันตนต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่ต่ำกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือน ก่อนเดือนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน จึงจะได้รับสิทธิ 7. กรณีว่างงาน กรณีถูกเลิกจ้าง รับเงินทดแทนในช่วงว่างงาน 70% ของค่าจ้าง ครั้งละไม่เกิน 200 วัน กรณีลาออก หรือ สิ้นสุดสัญญาจ้าง รับเงินทดแทนในช่วงว่างงาน 45% ของค่าจ้าง ครั้งละไม่เกิน 90 วัน (บังคับใช้ 1 มี.ค. 63 – 28 ก.พ. 65) กรณีว่างงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัย รับเงินทดแทนในช่วงว่างงาน 50% ของค่าจ้าง ครั้งละไม่เกิน 90 วัน ทั้งนี้ ผู้ประกันตนต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่ต่ำกว่า 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนว่างงาน จึงจะได้รับสิทธิ ผู้ประกันตนโดยสมัครใจ (มาตรา 39) ผู้ประกันตน มาตรา 39 คือ บุคคลที่เคยทำงานและเป็นผู้ประกันตน มาตรา 33 มาก่อน แล้วออกจากงานแต่ต้องการรักษาสิทธิประกันสังคม เงินสมทบที่ผู้ประกันตน มาตรา 39 ต้องนำส่งจะเท่ากับ 432 บาท/เดือน ทั้งนี้ ผู้ประกันตนต้องส่งเงินสมทบให้ครบทุกเดือนต่อเนื่องกัน ซึ่งหากไม่ส่งเงินสมทบ 3 เดือนติดต่อกัน หรือภายในระยะเวลา 12 เดือน ส่งเงินสมทบไม่ครบ 9 เดือน ก็จะถือว่าสิ้นสุดสภาพการเป็นผู้ประกันตน มาตรา 39 ในทันที คุณสมบัติของผู้สมัคร มาตรา 39 เคยเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ซึ่งจ่ายเงินสมทบแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน และออกจากงานไม่เกิน 6 เดือน นับตั้งแต่วันที่ออกจากงาน รวมถึงต้องไม่เป็นผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีทุพพลภาพจากกองทุนประกันสังคม สิทธิประโยชน์สำหรับผู้ประกันตน มาตรา 39 ผู้ประกันตน มาตรา 39 จะได้รับความคุ้มครอง 6 กรณี ต่อเนื่องจากการเป็นผู้ประกันตน มาตรา 33 ซึ่งได้แก่ กรณีเจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ เสียชีวิต สงเคราะห์บุตร และชราภาพ โดยจะได้รับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ เช่นเดียวกับ ผู้ประกันตน มาตรา 33
การตรวจสุขภาพฟรี สำหรับ ผู้ประกันตนประกันสังคม
การ "ตรวจสุขภาพ" ฟรี สำหรับประกันสังคม หรือ ผู้ประกันตน สำนักงานประกันสังคมร่วมขับเคลื่อนตามนโยบายรัฐบาลและกระทรวงแรงงานเพื่อดูแลสุขภาพของผู้ประกันตนเชิงรุกในทุกมิติ โดยให้สิทธิผู้ประกันตนเข้ารับการตรวจสุขภาพกับสถานพยาบาลที่สมัครเข้าร่ว มโครงการตรวจสุขภาพกับสำนักงานประกันสังคม ซึ่งกำหนดให้ผู้ประกันตนสามารถเข้ารับการตรวจสุขภาพ ฟรี 14 รายการ กับสถานพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการตรวจสุขภาพ ผู้ประกันตน สามารถ "ตรวจสุขภาพ" ฟรี โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย 14 รายการ ดังนี้ การตรวจร่างกายตามระบบ 1.การคัดกรองการได้ยิน Finger Rub Test อายุ 15 ปีขึ้นไป ตรวจ 1 ครั้ง/ 1 ปี 2.การตรวจเต้านมโดยแพทย์หรือบุคลากรสาธารณสุข อายุ 30 39 ปี ตรวจทุก 3 ปี , 40 54 ปี ตรวจทุกปี , 55 ปีขึ้นไป ตรวจตามความเหมาะสมหรือมีความเสี่ยง 3.การตรวจตาโดยความดูแลของจักษุแพทย์ อายุ 40 54 ปีตรวจ 1 ครั้ง , อายุ 55 ปีขึ้นไป ตรวจทุก 1 2 ปี 4.การตรวจสายตาด้วย Snellen eye Chart อายุ 55 ปีขึ้นไปตรวจ 1 ครั้ง/ปี การตรวจทางห้องปฏิบัติการ 5.ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด CBC อายุ 18 54 ปีตรวจ 1 ครั้ง , อายุ 55 70 ปีตรวจ 1 ครั้ง/ปี 6.ปัสสาวะ UA อายุ 55 ปีขึ้นไปตรวจ 1 ครั้ง/ปี การตรวจสารเคมีในเลือด 7.น้ำตาลในเลือด FBS อายุ 35 54 ปีตรวจทุก 3 ปี , อายุ 55 ปีขึ้นไปตรวจ 1 ครั้ง/ปี 8.การทำงานของไต Cr อายุ 55 ปีขึ้นไปตรวจ 1 ครั้ง/ปี 9.ไขมันในเลือดชนิด Total cholesterol & HDL อายุ 20 ปีขึ้นไป ตรวจทุก 5 ครั้ง