หน้าหลัก บทความสุขภาพ
โรคหัวใจมีที่ชนิด ? รู้จักไว้ป้องกันไว้ดีกว่าเสี่ยง โรคหัวใจมีหลายชนิดสามารถแบ่งเป็นชนิดใหญ่ๆได้ดังนี้
โรคหัวใจมีกี่ประเภท? ดีกว่าที่จะรู้ว่ามันจะดีกว่าที่จะปลอดภัยกว่าเสียใจ โรคหัวใจมีหลายประเภทและสามารถแบ่งออกได้เป็นประเภทหลักๆ ดังนี้ - - โรคหลอดเลือดหัวใจ - การเต้นของหัวใจไม่สม่ำเสมอ - โรคกล้ามเนื้อหัวใจ - โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด - โรคลิ้นหัวใจ -การติดเชื้อบริเวณหัวใจ - โรคหัวใจมีอาการที่แตกต่างกันไปในแต่ละประเภท - * โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เจ็บหน้าอก หรือแน่นหน้าอก กราม แขน รอยแตกที่คอ; ความเหนื่อยล้า ความอ่อนแอหรือหมดสติ - * การเต้นของหัวใจไม่สม่ำเสมอ อัตราการเต้นของหัวใจของคุณไม่สม่ำเสมอหรือช้า ใจสั่น ความเหนื่อยล้า แน่นหน้าอก คุณอาจรู้สึกเวียนหัวหรือเป็นลม - * โรคกล้ามเนื้อหัวใจ เหนื่อยล้าได้ง่าย หายใจถี่ ความพยายามอย่างเข้มข้น อาการบวมที่แขนขา; นอนไม่หลับ อาการต่างๆ เช่น การไอตอนกลางคืน มักจะแย่ลง - * โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด เป็นโรคที่เด็กมีอาการเหนื่อยและหยุดการเจริญเติบโตขณะให้นมลูกในครรภ์มารดา - * โรคลิ้นหัวใจ หากมีความผิดปกติของลิ้นหัวใจมาก ฉันจะเหนื่อยง่าย อาจทำให้หัวใจวายหรือปอดบวมได้ - * การติดเชื้อบริเวณหัวใจ ไข้เรื้อรัง ความเหนื่อยล้า การเต้นของหัวใจผิดปกติ หายใจถี่ อาการไอแห้งเรื้อรัง อาการบวมที่ขาหรือหน้าท้อง รวมถึงตุ่มหรือจุดบนผิวหนัง
โรคฝีดาษลิง หรือ MONKEYPOXโรคระบาดใหม่ที่ไม่ควรมองข้าม ทำความรู้จัก ฝีดาษวานรหรือฝีดาษลิง ว่าอาการเป็นอย่างไรและะป้องกันได้อย่างไร
โรคฝีดาษลิง หรือ MONKEYPOXโรคระบาดใหม่ที่ไม่ควรมองข้าม ทำความรู้จัก ฝีดาษวานรหรือฝีดาษลิง ว่าอาการเป็นอย่างไรและะป้องกันได้อย่างไร . โรคฝีดาษลิง ฝีดาษวานร หรือ Monkeypox เกิดจากเชื้อไวรัสที่อยู่ในสัตว์ฟันแทะบนทวีปแอฟริกา โดยเชื้อไวรัสนี้แพร่เชื้อไปยังสัตว์อื่น และสามารถแพร่จากสัตว์ไปสู่คนได้ ซึ่งการรายงานที่พบโรคนี้ครั้งแรกเกิดจากลิงในห้องทดลอง จึงเรียกว่าฝีดาษลิง หรือฝีดาษวานรนั่นเอง ซึ่งหมายความว่าลิงไม่ใช่แหล่งกำเนิดของโรคนี้อย่างที่เข้าใจกัน การระบาดที่พบในตอนนี้ เกิดในประเทศบนทวีปอเมริกาเหนือ ยุโรปเป็นส่วนใหญ่ . อาการที่ควรเฝ้าระวังของโรคฝีดาษลิง 1.อาการของโรคจะแสดงอาการหลังจากได้รับเชื้อแล้วประมาณ 7-14 วัน 2.มีไข้ อ่อนเพลีย ปวดหัว ปวดเมื่อยตามร่างกาย 3.ต่อมน้ำเหลืองโต 4.หลังจากมีไข้ประมาณ 1-3 วัน จะมีตุ่มเล็ก ๆ คล้ายผื่นขึ้นตามตัว ซึ่งตุ่มเหล่านี้จะอักเสบและแห้งไปเองใน 2 – 4 สัปดาห์ โดยมีการเปลี่ยนแปลงตามลำดับ ดังนี้ 4.1 มีตุ่มนูนแดงคล้ายผื่น 4.2 ภายในตุ่มมีน้ำใสอยู่ภายใน รู้สึกคัน แสบร้อน 4.3 ตุ่มใสกลายเป็นหนอง เมื่ออาการรุนแรงขึ้น ตุ่มหนองเหล่านั้นจะแตกออกและแห้งไปเอง 5.อาจมีอาการท้องเสีย อาเจียน เจ็บคอ ไอ หอบเหนื่อยร่วมด้วย 6.บางรายที่ภูมิคุ้มกันต่ำ หรือมีโรคประจำตัวอาจมีภาวะแทรกซ้อนทำให้อาการรุนแรงอันตรายถึงชีวิตได้ . โรคฝีดาษลิง สามารถติดต่อจากคนสู่คนได้จากการสัมผัสทางผิวหนัง สารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อ หรือวัตถุที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัส แต่โรคนี้เราสามารถเฝ้าระวังได้ง่าย เพราะผู้ป่วยติดเชื้อจะมีตุ่มขึ้นตามร่างกายเป็นรอยโรคที่สังเกตได้ชัดเจน . การป้องกัน 1.หมั่นล้างมือด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์หลังจากสัมผัสสัตว์เลี้ยงหรือสิ่งต่าง ๆ 2.สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้ง เมื่ออยู่ในพื้นที่เสี่ยงการแพร่ระบาด 3.หลีกเลี่ยงการสัมผัสผู้ป่วยหรือสัตว์ที่อาจเป็นพาหะของโรค 4.การฉีดวัคซีนป้องกันไข้ทรพิษ สามารถช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อได้
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข แนะสถานศึกษาคัดกรองและสังเกตอาการเด็กเล็กก่อนเข้าเรียนอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันโรคมือ เท้า ปาก เน้นย้ำสถานศึกษาหากพบเด
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข แนะสถานศึกษาคัดกรองและสังเกตอาการเด็กเล็กก่อนเข้าเรียนอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันโรคมือ เท้า ปาก เน้นย้ำสถานศึกษาหากพบเด็กป่วยให้รีบแยกออกจากเด็กปกติ และแจ้งให้ผู้ปกครองรับกลับบ้าน เพื่อพาไปพบแพทย์ . นายแพทย์ธงชัย กีรติหัตถยากร อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ช่วงนี้อากาศเปลี่ยนแปลง เนื่องจากเข้าสู่ช่วงฤดูฝน ซึ่งเอื้อต่อการระบาดของเชื้อโรคต่างๆ โดยเฉพาะโรคมือ เท้า ปาก ประกอบกับสถานศึกษาเปิดเรียนเป็นปกติ เด็กอาจมีการทำกิจกรรมรวมกลุ่ม ทำให้เสี่ยงต่อการแพร่กระจายของเชื้อ ซึ่งโรคดังกล่าวมีแนวโน้มพบอัตราป่วยมากที่สุดในกลุ่มเด็กเล็กและเด็กวัยเรียน โดยเฉพาะเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี โดยเชื้อสามารถแพร่กระจายได้ง่ายจากการสัมผัสน้ำมูก น้ำลาย น้ำในตุ่มพอง ตุ่มแผล หรือจากการสัมผัสของเล่น อุปกรณ์เครื่องใช้ หรือภาชนะที่ใช้ร่วมกัน ดังนั้น สถานศึกษาจึงควรมีมาตรการคัดกรองและสังเกตอาการของเด็กก่อนเข้าเรียนทุกเช้า เพื่อเฝ้าระวังการป่วยด้วยโรคมือ เท้า ปาก หากพบเด็กมีอาการเสี่ยงจะได้ป้องกันการแพร่ระบาดไปสู่เด็กคนอื่น . สำหรับอาการของโรคมือ เท้า ปาก ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่อาจไม่แสดงอาการหรือมีอาการเพียงเล็กน้อย เช่น มีไข้ต่ำๆ อ่อนเพลีย เจ็บคอ เจ็บปาก ในเด็กเล็กสังเกตได้จากการไม่ยอมรับประทานอาหารหรือมีน้ำลายไหล ร่วมกับมีผื่นหรือตุ่มน้ำใสพองเล็กๆ ขึ้นบริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า ลำตัว ก้น มีตุ่มแผลบริเวณในช่องปาก เพดานอ่อน กระพุ้งแก้ม ลิ้น ซึ่งภายหลังตุ่มแผลจะแตกออกเป็นแผลหลุมตื้นๆ ส่วนใหญ่อาการจะทุเลาและหายเองได้ภายใน 7-10 วัน หากอาการไม่ดีขึ้น เช่น มีไข้สูง รับประทานอาหารและน้ำได้น้อยมาก ซึมลง ชักเกร็ง หายใจหอบเหนื่อย อาเจียนมาก ควรรีบพาผู้ป่วยไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุดเพราะอาจติดเชื้อโรคมือ เท้า ปากชนิดรุนแรง และอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนถึงขั้นเสียชีวิตได้ . นายแพทย์อภิชาต วชิรพันธ์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวย้ำให้ผู้ปกครองและสถานศึกษาสังเกตอาการของเด็กอย่างใกล้ชิดและสม่ำเสมอ และสถานศึกษาหรือสถานรับเลี้ยงเด็กควรปฏิบัติตามคำแนะนำป้องกันโรคมือ เท้า ปาก ดังนี้ 1.คัดกรองเด็กก่อนเข้าเรียนทุกเช้าอย่างเคร่งครัด 2.ให้เด็กล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่ (แอลกอฮอล์เจลไม่สามารถฆ่าเชื้อนี้ได้) ทั้งก่อนและหลังรับประทานอาหาร หลังเข้าห้องน้ำ และหลังเล่นของเล่น 3.หมั่นทำความสะอาดของใช้ ของเล่น และพื้นที่ที่เด็กใช้ร่วมกันเป็นประจำ 4.หากสถานศึกษาพบเด็กป่วยให้แยกออกจากเด็กปกติและแจ้งให้ผู้ปกครองรับกลับบ้านเพื่อพาไปพบแพทย์ พร้อมทั้งให้เด็กหยุดเรียนจนกว่าจะหาย แยกของใช้ส่วนตัวของเด็กป่วยออกจากเด็กปกติ ทำความสะอาดด้วยน้ำยาทำความสะอาดหรือน้ำยาฆ่าเชื้อทั่วไป และนำไปตากแดดให้แห้ง หลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับเด็กคนอื่น งดไปในที่ชุมชนหรือสถานที่แออัด และหากพบการระบาดของโรคมือ เท้า ปาก เป็นกลุ่มก้อน ควรแจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่เพื่อดำเนินการสอบสวนและควบคุมโรคต่อไป สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร. 1422
วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ ทำไมต้องฉีดทุกปี?
วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ ทำไมต้องฉีดทุกปี . ไข้หวัดใหญ่ เกิดจากการติดเชื้อไวรัสอินฟลูเอนซา (Influenza virus) มีการระบาดเป็นช่วง ๆ ในฤดูฝนและฤดูหนาว คนทั่วไปจะมีอาการไม่มาก เช่น มีไข้สูง มีน้ำมูก ไอ เจ็บคอ ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามตัว เยื่อบุโพรงจมูกอักเสบ ส่วนใหญ่จะหายได้เอง แต่สำหรับคนที่เป็นกลุ่มเสี่ยง อาจมีภาวะแทรกซ้อนรุนแรงและอาจเสียชีวิตได้ เช่น ปอดอักเสบ หรือปอดบวม สมองอักเสบ ดังนั้นการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ยังเป็นสิ่งที่จำเป็นในคนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงนี้ . ทำไม ต้องฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ทุกปี เพราะ เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ เปลี่ยนสายพันธุ์ทุกปี ลดโอกาสป่วย ด้วยการฉีดก่อนฤดูฝน ซึ่งเป็นช่วงที่โรคระบาดหนัก ลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง ช่วยให้มีภูมิคุ้มกัน ครอบคลุมกับเชื่อไวรัสในแต่ละปี หลังฉีดวัคซีน 2 สัปดาห์ จะเกิดภูมิคุ้มกันได้นานถึง 1 ปีเพื่อป้องกันร่างกายจากไข้หวัดใหญ่ เราจึงควรฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่เป็นประจำทุกปี . ด้วยความห่วงใยจาก รพ.เออีซี
ระวัง! ไวรัส RSV ในเด็กเล็ก คล้ายไข้หวัด..แต่อันตราย ถึงชีวิต!!!!
เมื่อเข้าสู่ช่วงปลายฝนต้นหนาว ร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ และหนึ่งโรคติดเชื้อทางเดินหายใจที่เกิดจากเชื้อไวรัส RSV มักจะระบาดสูงในช่วงฤดูกาลนี้ โดยเฉพาะในเด็กเล็ก ซึ่งเหมือนจะเป็นแค่ไข้หวัดธรรมดา แต่ก็ไม่ควรประมาท เพราะโรค RSV อันตรายถึงแก่ชีวิต!!! เชื่อว่าใครที่เป็นคุณพ่อ คุณแม่ คงจะรู้จักกับโรค RSV กันไม่น้อย แต่ก็คงคาดไม่ถึงว่าโรคนี้จะมีความรุนแรงได้ถึงในระดับไหน เพราะถ้ามองเผินๆก็เหมือนแค่ไข้หวัดปกตินี่นา แต่เชื่อหรือไม่? ว่า..โรคนี้ก็สามารถพรากชีวิตมาหลายชีวิตแล้ว ไวรัส RSV หรือ ที่มีชื่อเรียกเต็มๆก็คือ (Respiratory Syncytial Virus) เป็นเชื้อไวรัสชนิดที่มีลักษณะเปลือกหุ้ม ที่เป็นสาเหตุของการติดเชื้อทางเดินหายใจ สามารถเกิดการติดเชื้อได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ แต่ส่วนมากแล้วมักเกิดในเด็กเล็ก ๆ ที่อายุต่ำกว่า 3 ปี มักจะมีการแพร่ระบาดค่อนข้างรวดเร็ว และพบการระบาดได้บ่อยในช่วงฤดูฝนหรือช่วงปลายฝนต้นหนาว การติดต่อของเชื้อ RSV สามารถติดต่อผ่านสารคัดหลั่งต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น น้ำมูก น้ำลาย ละอองจากการไอ จาม โดยเฉพาะการติดต่อจากการสัมผัส ซึ่งหากเด็กได้รับเชื้อ ระยะฟักตัวจะอยู่ที่ประมาณ 5 วัน โดยในช่วง 2 – 4 วันแรกมักมีอาการคล้ายไข้หวัดธรรมดา เช่น ไข้ ไอ , จาม , น้ำมูกไหล จนผู้ปกครองมองข้าม แต่ถ้าเมื่อทางเดินหายใจส่วนล่างมีการอักเสบตามมา ก็จะทำให้เกิดโรคหลอดลมอักเสบ กล่องเสียงอักเสบ และโรคปอดบวมหรือปอดอักเสบ ในบางรายเกิดอาการขั้นรุนแรง เช่น ไข้สูง ไอแรง หอบเหนื่อย หายใจมีเสียงครืดคราด มีเสมหะในลำคอมาก ๆ อาการที่ต้องเฝ้าระวัง หากมีไข้สูงมากกว่า 39 องศาเซลเซียส ไอจนอาเจียน หายใจเร็วหอบจนชายโครงหรืออกบุ๋ม หายใจออกลำบากหรือหายใจมีเสียงวี้ด (Wheezing) รับประทานอาหารหรือนมได้น้อย ซึมลง ปากซีดเขียว อาการเหล่านี้จะมีโอกาสเสียชีวิตเนื่องจากระบบทางเดินหายใจล้มเหลวได้สูง ปัจจุบันยังไม่มียารักษาโรคติดเชื้อไวรัส RSV โดยตรง แต่ใช้วิธีการรักษาตามอาการเหมือนโรคโควิด เช่น การให้ยาลดไข้ แก้ไอละลายเสมหะ ในเด็กบางรายที่มีเสมหะเหนียวมาก ต้องทำการพ่นยาขยายหลอดลมผ่านทางออกซิเจนละอองฝอย เคาะปอด และดูดเสมหะออก จะช่วยลดความรุนแรงของอาการไอและอาการหายใจหอบเหนื่อยได้ โรค RSV ใช้เวลาในการฟื้นไข้ประมาณ 1 – 2 สัปดาห์ ไวรัสชนิดนี้ทำให้เกิดอาการได้ตั้งแต่ไข้หวัดธรรมดา รวมถึงอาการรุนแรงเป็นปอดบวมซึ่งเป็นอันตรายต่อชีวิตลูกน้อย และเชื้อไวรัสนี้มีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำได้อีกหากร่างกายอ่อนแอ วิธีการป้องกันการติดเชื้อ RSV ทำได้โดยการรักษาความสะอาด ผู้ปกครองควรดูแลความสะอาดให้ดี หมั่นล้างมือตัวเองและลูกน้อยบ่อย ๆ เพราะการล้างมือสามารถลดเชื้อที่ติดมากับมือทุกชนิดได้ถึงร้อยละ 70 ควรรับประทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะครบ 5 หมู่ และให้เด็กพักผ่อนให้เพียงพอ เมื่อมีการมื่อไอ-จาม ควรปิดปากจมูก และหลีกเลี่ยงในการสัมผัส . ทำความสะอาดของเล่นและสิ่งของที่ใช้ร่วมกันให้สะอาดอยู่เสมอ . อยู่สถานที่ในอากาศที่ถ่ายเท ไม่ควรอยู่ในห้องแอร์ตลอดเวลา . ปกติแล้วในผู้ใหญ่มักไม่ติดเชื้อโรคนี้ เพราะมีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงพอ แต่ผู้ใหญ่มีโอกาสสัมผัสเชื้อนี้ได้ และหากไม่ล้างมือให้สะอาดก็อาจทำให้เด็กเล็กติดเชื้อจากผู้ใหญ่ได้อีกทีนึง . สามารถติดตามความรู้เกี่ยวกับสุขภาพหรือข่าวสารต่างๆของโรงพยาบาลเออีซีได้ที่ เพจ Facebook โรงพยาบาลเออีซี พร้อมเปิดให้บริการแบบเต็มรูปแบบเร็ว ๆ นี้ โรงพยาบาลเออีซี AEC Hospital / aechospital.com “การรักษาพยาบาล ที่ไร้พรมแดน” …………………………………………………………………… #โรงพยาบาลเออีซีAECHospital #การรักษาพยาบาลที่ไร้พรมแดน #เปิดให้บริการเร็วๆนี้ #เปิดให้การทั้งชาวไทยเเละชาวต่างชาติ #ตรวจสุขภาพ #เจ็บป่วยอุ่นใจสบายกระเป๋า #อย่าปิดกั้นการมองเห็น #ตรวจสุขภาพworkpermit #ประกันสังคม #ประกันสุขภาพ #ฉุกเฉิน24ชั่วโมง
ไข้เลือดออก…ภัยร้ายคร่าชีวิต
ไข้เลือดออก…ภัยร้ายคร่าชีวิต . โรคไข้เลือดออกนั้นเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี (Dengue Virus) โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค ซึ่งพบได้ในทุกกลุ่มอายุ อาการของโรคไข้เลือดออกแม้จะไม่รุนแรง หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนจนทำให้เสียชีวิตได้ . หากพบว่ามีอาการดังกล่าว ควรพบแพทย์ทันที และห้ามซื้อยารับประทานเองเด็ดขาด เราสามารถป้องกันโรคไข้เลือดออกได้โดย ระวังอย่าให้ยุงกัด ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง โดยเฉพาะภาชนะที่มีน้ำขัง . สังเกตอาการของโรคไข้เลือดออกได้ ดังนี้ . มีไข้สูง 39 – 40 องศา เกิน 2 วัน ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว อ่อนเพลีย ซึมลง ปัสสาวะสีเข้ม เบื่ออาหาร อาเจียน อาจพบจ้ำเลือดหรือจุดเลือดตามผิวหนัง อุจจาระมีสีดำ . โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่ระบาดหนักมากในช่วงฤดูฝน โดยมีจำนวนผู้ป่วยและเสียชีวิตจากโรคนี้เพิ่มขึ้นทุกปี นอกจากการดูแลตนเอง และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงลายซึ่งเป็นพาหะนำเชื้อ เราสามารถป้องกันตนเองด้วยวัคซีนป้องกันไข้เลือดออก (Dengue Vaccine) ซึ่งเป็นอีกวิธีการหนึ่งที่สามารถช่วยป้องกันอาการป่วยด้วยไข้เลือดออกได้ โดยประสิทธิภาพในการป้องกันไข้เลือดออกจะมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ของเชื้อไวรัสไข้เลือดออก ประวัติการติดเชื้อไข้เลือดออกมาก่อนหน้าที่จะได้รับวัคซีน และอายุของผู้ได้รับวัคซีน
ทำไมต้องตรวจสุขภาพประจำปี การตรวจสุขภาพประจำปี อาจถูกหลายคนมองข้ามถึงความสำคัญ เพราะคิดว่าร่างกายมีความแข็งแรงสมบูรณ์ดี อีกทั้งไม่แสดงถึงอาการเจ็บป่วย
ทำไมต้องตรวจสุขภาพประจำปี การตรวจสุขภาพประจำปี อาจถูกหลายคนมองข้ามถึงความสำคัญ เพราะคิดว่าร่างกายมีความแข็งแรงสมบูรณ์ดี อีกทั้งไม่แสดงถึงอาการเจ็บป่วย หรือความผิดปกติใด ๆ แต่ความสำคัญของการตรวจสุขภาพประจำปีนั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาความเสี่ยงของโรค หรือภาวะต่าง ๆ ที่ยังไม่แสดงอาการออกมา เพื่อเตรียมการรับมือในการรักษาแต่เนิ่น ๆ อีกทั้งยังช่วยลดความรุนแรง และภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ นอกจากนี้ยังเป็นการลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการรักษาอีกด้วย ซึ่งวันนี้เราจะมาแนะนำเกี่ยวกับการตรวจสุขภาพประจำปีกันค่ะ . การตรวจสุขภาพประจำปี คืออะไร การตรวจทั่ว ๆ ไปในผู้ที่ไม่มีอาการผิดปกติ เพื่อตรวจคัดกรอง ค้นหาโรคที่อาจแฝงอยู่ในร่างกาย แต่ไม่แสดงอาการออกมา หรือตรวจเพื่อหาปัจจัยเสี่ยง รวมถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ ดังนั้นการตรวจประจำปีจึงมีประโยชน์ทั้งกับผู้ที่เข้ารับการตรวจ เพราะช่วยให้รับมือกับโรคต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที . การตรวจสุขภาพประจำปีต้องตรวจกี่ครั้ง สำหรับการตรวจสุขภาพประจำปีต้องตรวจอะไรบ้าง หรือความถี่ในการตรวจนั้นขึ้นอยู่กับอายุ สุขภาพโดยรวม ประวัติครอบครัว และรูปแบบการใช้ชีวิตของแต่ละคน โดยปกติโปรแกรมการตรวจสุขภาพประจำปีเบื้องต้นจะแบ่งตามเพศ และอายุ โดยแพทย์แนะนำให้ตรวจทุก 1 ปี และสำหรับผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษอาจจำเป็นต้องเข้ารับการตรวจที่บ่อยขึ้น . การตรวจสุขภาพเบื้องต้นมีอะไรบ้าง การตรวจสุขภาพเบื้องต้นที่สามารถตรวจเบื้องต้นได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิงของกลุ่มคนวัยทำงานขึ้นไปจนถึงผู้สูงอายุ - การตรวจร่างกายทั่วไป เป็นการตรวจร่างกายพื้นฐาน โดยแพทย์จะสอบถามประวัติการเจ็บป่วยของคนในครอบครัว รวมถึงประวัติอาการต่าง ๆ ในอดีตจนถึงปัจจุบัน ประวัติการแพ้ยา และพฤติกรรมในชีวิตประจำวันที่อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพ ร่วมกับการตรวจร่างกายเบื้องต้น เช่น การตรวจวัดความดันโลหิต ตรวจหาดัชนีมวลกาย และการตรวจร่างกายเบื้องต้นโดยแพทย์ เพื่อให้แพทย์สามารถแยกโรคต่าง ๆ ได้ในเบื้องต้น - การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC) เพื่อหาความผิดปกติของส่วนประกอบของเลือด ได้แก่ เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว เกล็ดเลือด การประเมินความเข้มข้นของเลือด เพื่อบอกถึงสภาวะผิดปกติ เช่น ภาวะโลหิตจาง ภาวะที่เกี่ยวกับภูมิคุ้มกันของร่างกาย จำนวนเกล็ดเลือด และความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว - การตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด (FPG) และค่าน้ำตาลเฉลี่ยสะสม (HbA1C) เพื่อประเมินความเสี่ยงของโรคเบาหวาน - การตรวจวัดระดับไขมันในเลือด เพื่อตรวจวัดระดับคอเลสเตอรอล และไตรกลีเซอไรด์ รวมถึงไขมันชนิดดีและไม่ดี เพื่อประเมินความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง - การตรวจวัดระดับกรดยูริก เป็นการตรวจเพื่อประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเก๊าท์ - การตรวจวัดการทำงานของไต โดยการตรวจเลือดเพื่อดูระดับค่าครีเอตินิน ซึ่งเป็นของเสียที่เกิดขึ้นจากกล้ามเนื้อ และค่า Blood Urea Nitrogen (BUN) ซึ่งเป็นค่าของเสียที่เกิดจากการย่อยสลายโปรตีน เพื่อประเมินความสามารถในการขับของเสียของไต - การตรวจวัดการทำงานของตับ เป็นการตรวจเพื่อหาภาวะตับอักเสบ ตับเสื่อมสภาพ ภาวะดีซ่าน โดยการตรวจหาเอ็นไซม์และสารต่าง ๆ เพื่อตรวจดูความผิดปกติของตับ และทางเดินน้ำดี - การตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์ โดยตรวจวัดจากระดับฮอร์โมนในเลือด เพื่อตรวจสอบการทำงานของต่อมไทรอยด์ว่าทำงานได้อย่างปกติหรือไม่ - การตรวจไวรัสตับอักเสบ ไวรัสตับอักเสบบีสามารถตรวจคัดกรองจากการติดเชื้อเบื้องต้นได้จากส่วนประกอบของเชื้อ HBsAg และการตรวจวัดระดับภูมิคุ้มกันต่อเชื้อ HBsAb ส่วนไวรัสตับอักเสบซี สามารถตรวจคัดกรองการติดเชื้อเบื้องต้นได้จาก Anti-HCV - การตรวจสารบ่งชี้มะเร็ง อาทิ การตรวจสารบ่งชี้มะเร็งทางเดินอาหาร (CEA) การตรวจสารบ่งชี้มะเร็งตับ และตรวจสารบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมากในเพศชายทุกช่วงวัย - การตรวจปัสสาวะ เป็นการตรวจเพื่อช่วยในการวินิจฉัยโรคในระบบทางเดินปัสสาวะเบื้องต้น รวมถึงโรคอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินปัสสาวะ เช่น โรคเบาหวาน - การตรวจอุจจาระ เป็นการตรวจเพื่อช่วยในการวินิจฉัยโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารเบื้องต้น ได้แก่ ภาวะการอักเสบติดเชื้อในลำไส้ พยาธิ รวมถึง - การตรวจหาภาวะเลือดปนในอุจจาระ ซึ่งอาจเกิดจากแผลในกระเพาะอาหารหรือลำไส้ ริดสีดวงทวาร รวมไปถึงโรคมะเร็งทางเดินอาหาร - การตรวจวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) เป็นการตรวจเพื่อช่วยประเมินการทำงานของหัวใจในขณะพัก เพื่อดูความผิดปกติของการทำงานของหัวใจ เช่น ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ การนำไฟฟ้าที่ผิดปกติของกล้ามเนื้อหัวใจ ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด การเอกซเรย์ปอด เป็นการตรวจเพื่อดูความผิดปกติในทรวงอก เช่น ขนาดของหัวใจ วัณโรค และโรคต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ภายในปอด - การตรวจอัลตราซาวด์ช่องท้อง เป็นการตรวจเพื่อหาความผิดปกติของอวัยวะที่สำคัญในช่องท้อง เช่น ตับ ไต ตับอ่อน ม้าม เส้นเลือดใหญ่ที่อยู่ภายในช่องท้อง รวมถึงมดลูกและรังไข่ในผู้หญิง และต่อมลูกหมากในผู้ชาย - การตรวจวัดความสามารถในการมองเห็นและความดันของลูกตา เป็นการตรวจสุขภาพตาทั่วไป และค้นหาความเสี่ยงของภาวะต้อ การตรวจสุขภาพประจำปีอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง จึงมีความจำเป็น และความสำคัญ เพราะจะทำให้ได้รู้ว่าร่างกายของตัวเองมีโรคใดที่ซ่อนอยู่หรือไม่ หากตรวจพบความผิดปกติจะได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง นอกจากนี้การตรวจสุขภาพยังจะได้ คำแนะนำของการดูแลสุขภาพที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคลอีกด้วย
ระวัง!…6 โรครับเปิดเทอมที่มากับฤดูฝน
ระวัง!…6 โรครับเปิดเทอมที่มากับฤดูฝน . ในช่วงหน้าฝนในช่วงเปิดเทอมแบบนี้ เด็กเล็กและเด็กวัยเรียน มีความเสี่ยงป่วยง่ายจากโรคติดต่อ เช่น โรคมือ เท้า ปาก โรคหวัด โรคไข้หวัดใหญ่ ตาแดง อาหารเป็นพิษ และไข้เลือดออก ซึ่งแต่ละโรคมีอาการแตกต่างกัน ที่คุณพ่อ คุณแม่ และผู้ปกครองควรทราบ เพื่อสังเกตอาการของเด็กๆ ให้ดี . 1.โรคตาแดง โรคตาแดงมีสาเหตุจากการติดเชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อไวรัสที่เยื่อบุตา ติดต่อได้จากการสัมผัสขี้ตา น้ำตาของคนที่เป็นโรคตาแดง หากมีอาการตาแดง ควรมาพบแพทย์ และใช้ยาหยอดตาตามที่แพทย์สั่ง หมั่นล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่และน้ำ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ และหลีกเลี่ยงการขยี้ตา . 2.โรคไข้หวัดใหญ่ โรคไข้หวัดใหญ่จะมีอาการไข้สูง หนาวสั่น ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว ไอ จาม น้ำมูกไหล บางคนอาจมีอาการรุนแรงจนทำให้ปอดบวม . วิธีป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อไข้หวัดใหญ่และโรคหวัด คือ ล้างมือด้วยสบู่และน้ำ หรือใช้แอลกอฮอล์เจลล้างมือ สอนให้เด็กเช็ดน้ำมูก และปิดปากปิดจมูกเวลาไอ หรือจาม ไม่อยู่ใกล้ชิดกับคนที่ป่วย . 3.โรคมือเท้าปาก เด็กจะมีตุ่มแดงอักเสบที่ปาก ลิ้น เหงือก กระพุ้งแก้ม มีตุ่มน้ำใส หรือผื่นนูนสีแดงเล็กๆ ที่มือ และเท้า บางคนอาจมีผื่นที่แขน ขา หัวเข่า ศอก หรือที่ก้น และมักจะมีไข้ร่วมด้วย วิธีการป้องกันคือ ล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่ และดูแลความสะอาดอยู่เสมอ ไม่คลุกคลี หรือสัมผัสใกล้ชิดกับคนที่ป่วยเป็น โรคมือ เท้า ปาก . 4.โรคไข้เลือดออก ต้องระวังให้มากๆ อย่างที่รู้กัน โรคไข้เลือดออก มียุงลายเป็นพาหะนำโรค ถ้ามีอาการไข้สูงที่ไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด ควรมาพบแพทย์ และต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด หากมีอาการอาเจียนหรือถ่ายเป็นเลือด แสดงถึงอันตราย เด็กอาจจะมีภาวะช็อก ซึ่งจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาโดยด่วน ส่วนวิธีการป้องกันคือระวังอย่าให้ยุงลายกัด ทำความสะอาดบ้าน และกำจัดแหล่งน้ำขังอยู่เสมอ เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย . 5.โรคอาหารเป็นพิษ ตอนกินนั้นอร่อย แต่พออาเจียน ปวดท้อง ท้องเสียนั้นสุดจะทรมาน โรคอาหารเป็นพิษเกิดจากการกินอาหาร และน้ำดื่ม ที่ปนเปื้อนสารพิษจากแบคทีเรีย จึงควรใส่ใจความสะอาดตามหลักสุขาภิบาล รับประทานอาหารปรุงสุกใหม่ๆ สะอาด ล้างมือก่อนรับประทานอาหารให้ติดเป็นนิสัย หากพบว่ามีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ปวดท้อง และอ่อนเพลียมาก ควรรีบพบแพทย์ทันที . 6.โรคอีสุกอีใส เป็นโรคติดต่อที่มาด้วยอาการไข้ ออกผื่น พบมากในเด็ก เกิดจากการติดเชื้อไวรัสวาริเซลลา-ซอสเตอร์ โดยทั่วไปจะพบอัตราการป่วยได้สูงสุดในกลุ่มอายุ 5-9 ปี รองลงมาคือ 0-4 ปี, 10-14 ปี, 15-24 ปี และ 25-34 ปี ตามลำดับ ในคนที่อายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไปอาจพบได้บ้าง โรคนี้มีโอกาสเกิดได้ใกล้เคียงกันทั้งหญิงและชาย การป้องกันโรคนั้น คุณพ่อคุณแม่ต้องเฝ้าสังเกตอาการของลูกๆอย่างใกล้ชิด หากมีอาการผิดปกติ หรือมีอาการใดที่บ่งชี้ได้ว่าอาจเป็นโรคใดโรคหนึ่ง ควรรีบพาไปพบแพทย์เพื่อตรวจ วินิจฉัย และรักษาโดยเร็วที่สุด
มะเร็งปากมดลูก มะเร็งร้าย...ที่ป้องกันได้
จากสถิติขององค์การอนามัยโลกในปี 2563 มะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยเป็นอันดับ 4 ของผู้หญิงทั่วโลก ในปัจจุบันเราทราบว่าเชื้อ Human Papillomavirus หรือเชื้อ HPV เป็นสาเหตุหลักของการเกิดมะเร็งปากมดลูก . ผู้หญิงทุกคนที่แต่งงานหรือมีเพศสัมพันธ์แล้วมีโอกาสติดเชื้อไวรัส HPV ได้ในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต ซึ่งส่วนใหญ่ภูมิคุ้มกันของร่างกายของผู้ที่ติดเชื้อจะสามารถกำจัดเชื้อไวรัสออกไปได้โดยไม่ก่ออาการหรือโรค แต่บางคนอาจติดเชื้อซ้ำหรือร่างกายกำจัดไวรัสออกไปไม่หมด ทำให้พัฒนากลายเป็นโรคมะเร็งปากมดลูกได้ . ไวรัส HPV คืออะไร ไวรัส HPV มีมากกว่า 200 สายพันธุ์ แบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่คือ - ไวรัส HPV กลุ่มที่มีความเสี่ยงน้อย (low-risk HPVs): ส่วนใหญ่ไม่ทำให้เกิดโรค แต่บางสายพันธุ์อาจทำให้เกิดหูดบริเวณอวัยวะเพศ ทวารหนัก ปากหรือลำคอ - ไวรัส HPV กลุ่มที่มีความเสี่ยงมาก (high-risk HPVs): มีอยู่ประมาณ 16 สายพันธุ์ โดยสายพันธ์ที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งมากที่สุดคือ สายพันธุ์ 16 และ 18 . ไวรัส HPV ติดต่อกันได้อย่างไร ประมาณ 85% ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ไม่ว่าจะทางช่องคลอด ทางทวารหนักหรือทางปาก ทำให้เกิดโรคมะเร็งปากมดลูก มะเร็งทวารหนักและมะเร็งกล่องเสียงได้ อีก 15% อาจติดจากมือที่สัมผัสกับไวรัส และไปสัมผัสกับปากมดลูกที่มีแผลหรือมีรอยปริแยก ทำให้ไวรัสเข้าไปในปากมดลูก . สัญญาณเตือนของโรคมะเร็งปากมดลูกมีอะไรบ้าง โรคมะเร็งปากมดลูกมักใช้เวลานานหลายปีกว่าจะพัฒนาจนแสดงอาการออกมา ผู้ป่วยมักมีอาการเมื่อเป็นมะเร็งในระยะที่ 2 ไปแล้ว โดยอาการมีดังนี้ - มีเลือดออกผิดปกติ เช่น หลังการมีเพศสัมพันธ์ ประจำเดือนมากผิดปกติหรือนานกว่าปกติ เลือดออกหลังหมดประจำเดือน - มีตกขาวเพราะการอักเสบติดเชื้อ มีกลิ่น - หากมะเร็งแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น ผู้ป่วยอาจมีอาการ เช่น ปัสสาวะลำบาก ปัสสาวะมีเลือดปน ท้องเสีย มีเลือดออกทางทวารหนัก รู้สึกเจ็บปวดบริเวณท้อง/อุ้งเชิงกราน . ใครบ้างที่มีความเสี่ยง ถึงแม้สาเหตุหลักในการเกิดมะเร็งปากมดลูกคือการติดเชื้อ HPV แต่ยังมีปัจจัยอื่นๆที่ทำให้มีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งปากมดลูกมากขึ้น ดังนี้ - ผู้ที่ไม่ตรวจแปปสเมียร์ร่วมกับตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกทุกปี - มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกันหรือมีคู่นอนหลายคน - สูบบุหรี่ - มีระบบภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอ เช่น ติดเชื้อ HIV - รับประทานยาคุมกำเนิดเป็นระยะเวลานาน - ตั้งครรภ์และมีบุตรมากกว่า 3 คนขึ้นไป มีวิธีการรักษาโรคมะเร็งปากมดลูกอย่างไร โรคมะเร็งปากมดลูกมีโอกาสในการรักษาให้หายสูง หากเจอตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม วิธีการรักษาแบ่งตามระยะที่พบโรค ดังนี้ - ระยะก่อนมะเร็ง ผู้ป่วยมีเซลล์ที่ผิดปกติแต่ยังไม่ได้พัฒนาเป็นมะเร็ง เซลล์ผิดปกติในระยะที่ 1: รักษาด้วยการจี้ร้อนหรือจี้เย็น เพื่อทำลายเซลล์ที่ผิดปกติ เซลล์ผิดปกติในระยะที่ 2 และ 3: รักษาด้วยการตัดปากมดลูกเป็นรูปกรวยเพื่อเอาเซลล์ที่ผิดปกติออกด้วยห่วงลวดไฟฟ้า เป็นการผ่าตัดเล็กและเจ็บปวดน้อย ไม่ได้ทำให้เสียความสามารถในการมีบุตร - ระยะเป็นมะเร็ง การรักษาแบ่งตามระยะของมะเร็ง มะเร็งระยะที่ 1: รักษาโดยการผ่าตัดและรังสีรักษา มีโอกาสหายประมาณ 80-85% มะเร็งระยะที่ 2 และระยะที่ 3: เป็นระยะที่ลุกลามไปถึงอวัยวะข้างเคียง เนื้อเยื่อข้างๆตัวปากมดลูกหรือช่องคลอดต้นๆ รักษาโดยการใช้รังสีรักษาและเคมีบำบัด และในบางกรณีอาจต้องมีการผ่าตัด ในระยะ 2 มีโอกาสหาย 70-75% ในระยะ 3 โอกาสหายลดลดเหลือ 60-65% มะเร็งระยะที่ 4: เป็นระยะลุกลาม มะเร็งมีการแพร่กระจายไปยังอวัยวะที่ไกลออกไป เช่น ตับหรือปอด รักษาโดยการใช้รังสีรักษาและเคมีบำบัด เป็นระยะที่รักษาได้ยากและอาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตในที่สุด . โรคมะเร็งปากมดลูกป้องกันได้หรือไม่ โรคมะเร็งปากมดลูกสามารถป้องกันได้ ถึงแม้ป้องกันไม่ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่สามารถลดความเสี่ยงลงไปได้มาก ด้วยการป้องกันดังนี้ - การฉีดวัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อ HPV ควรฉีดทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ควรฉีดก่อนมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกหรือตั้งแต่อายุ 9 ขวบขึ้นไป - การตรวจแปปสเมียร์ร่วมกับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก - ใช้ถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์ ไม่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย - งดสูบบุหรี่ พร้อมเปิดให้บริการแบบเต็มรูปแบบเร็ว ๆ นี้ โรงพยาบาลเออีซี AEC Hospital / aechospital.com “การรักษาพยาบาล ที่ไร้พรมแดน”
ข่าวดี! สำหรับคุณผู้หญิง โรงพยาบาลเออีซี ร่วมกับ โรงพยาบาลเอเชียอินเตอร์เนชั่นแนล
ข่าวดี! สำหรับคุณผู้หญิง โรงพยาบาลเออีซี ร่วมกับ โรงพยาบาลเอเชียอินเตอร์เนชั่นแนล . เปิดให้บริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ด้วยวิธี HPV DNA Test ที่สะดวก ง่าย รวดเร็ว แม่นยำและไม่มีค่าใช้จ่าย . รับสิทธิประกันสังคมและสิทธิบัตรทองทุกโรงพยาบาล การตรวจ HPV DNA Test คือการตรวจในระดับโมเลกุล เพื่อหาเชื้อ HPV ความเสี่ยงสูงทั้ง 14 สายพันธุ์ ซึ่งเป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูกประมาณ 99% โดยมีวิธีการตรวจเหมือน ตรวจภายใน คือเก็บเซลล์บริเวณตัวอย่างที่ปากมดลูกช่องคลอดด้านใน ส่งตรวจเหมือนวิธีการตรวจด้วยน้ำยา ซึ่งสามารถที่จะตรวจหาเซลล์และแยกน้ำยาเพื่อจะตรวจหาเชื้อ HPV DNA . ใครบ้างที่ควรตรวจ หญิงไทยอายุ 30 - 59 ปี ทุกคน หรือหญิงไทยอายุ 15 - 29 ปี ที่มีความเสี่ยงสูง ได้แก่มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อย มีคู่นอนหลายคน ไม่ใช้ถุงยางอนามัย สามารถตรวจได้คนละ 1 ครั้งทุก 5 ปี . มะเร็งปากมดลูก คือโรคมะเร็งร้ายอันดับต้นๆของผู้หญิงไทย การตรวจคัดกรองเป็นประจำ ช่วยลดความเสี่ยงได้ ทางโรงพยาบาลเออีซีขอเชิญชวนหญิงไทยทุกท่านตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกฟรี โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ด้วยเทคโนโลยี HPV DNA Test . เงื่อนไข : หญิงไทยอายุ 30-59 ปีทุกคน หรือ หญิงไทยอายุ 15-29 ปีที่มีความเสี่ยงสูง (ได้แก่ ผู้มีเพศสัมพันธ์ ตั้งแต่อายุน้อย มีคู่นอนหลายคน ไม่ใช้ถุงยางนามัย คนละ 1 ครั้ง ทุก ๆ 5 ปี) . ทางโรงพยาบาลเออีซี ให้บริการแบบนอกสถานที่ทั้งโรงงาน สถานประกอบการ เทศบาลอบต. โรงเรียนและมหาวิทยาลัย . ติดต่อนัดหมายได้ที่ โทร:061-350-6197
โรงพยาบาลเออีซีให้บริการหน่วยตรวจสุขภาพเคลื่อนที่ Mobile Check up
โรงพยาบาลเออีซีให้บริการหน่วยตรวจสุขภาพเคลื่อนที่ Mobile Check up . บริการออกหน่วยเคลื่อนที่ตรวจสุขภาพประจำปีให้กับ พนักงานบริษัท, หน่วยงานภาครัฐฯ, ภาคเอกชนทั่วไป โดยเราให้บริการตรวจสุภาพในและนอกสถานที่ให้บริการตรวจสุขภาพ โดยทีมแพทย์ พยาบาล รถเอกซเรย์เคลื่อนที่ ออกให้บริการที่สถานที่สถานประกอบการ ซึ่งท่านจะได้รับความสะดวกสบายในการรับบริการและไม่เสียเวลา ค่าใช้จ่าย ในการเดินทางมารับบริการที่โรงพยาบาล . พร้อมให้บริการ - ตรวจสุขภาพประจำปี - ตรวจสุขภาพ Work Permit - ตรวจสุขภาพก่อนเริ่มงาน - หน่วยฉีดวัคซีนนอกสถานที่ - ตรวจฟรีตามสิทธิ์ประกันสังคม 14 รายการ - ตรวจสุขภาพปัจจัยเสี่ยง (อาชีวอนามัย) . สอบถามรายละเพิ่มเติมได้ที่ 061-350-6197 สามารถติดตามความรู้เกี่ยวกับสุขภาพหรือข่าวสารต่างๆของโรงพยาบาลเออีซีได้ที่ เพจ Facebook โรงพยาบาลเออีซี พร้อมเปิดให้บริการแบบเต็มรูปแบบเร็ว ๆ นี้ โรงพยาบาลเออีซี AEC Hospital “การรักษาพยาบาล ที่ไร้พรมแดน”
แนะนำ! ควร "ตรวจสุขภาพ" อะไรบ้าง? ให้เหมาะสมกับวัยของตัวเอง
ด้วยสภาพร่างกายและปัจจัยเสี่ยงของแต่ละเพศแต่ละวัยของแต่และคนนั้นมีรายละเอียดที่แตกต่างกัน การเลือกรายการตรวจสุขภาพให้เหมาะนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญ และเราทุกคนก็ควรได้รับการตรวจสุขภาพเป็นประจำตั้งแต่แรกเกิดไปจนถึงวัยชราเลยทีเดียว แล้วแต่ละช่วงวัยควรตรวจอะไรบ้าง? ▶️กลุ่มเด็กแรกเกิด จนถึงวัยรุ่นไม่เกิน 20 ปี - ตรวจสุขภาพตามรายการมาตรฐาน ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง คำนวณค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index : BMI) หากน้อยไปหรือมากไป จะได้ปรับการรับประทานและการออกกำลังกายให้เหมาะสมตามวัย - ตรวจพัฒนาการด้านต่างๆ ตามช่วงอายุ และรับวัคซีนตามช่วงวัย - ตรวจสุขภาพช่องปากและฟัน - ตรวจสุขภาพดวงตา สายตาและการมองเห็น ▶️กลุ่มวัยรุ่นตอนปลาย ผู้ใหญ่ตอนต้น อายุ 20-30 ปี ช่วงปลายวัยรุ่นวัยเรียนและเริ่มเข้าสู่วัยทำงาน หลายคนอาจละเลยการดูแลสุขภาพ เพราะคนในวัยนี้ส่วนใหญ่ยังแข็งแรง ไม่ค่อยมีการเจ็บป่วยจากความเสื่อมของร่างกาย แต่อย่างน้อยควรได้รับการตรวจสุขภาพพื้นฐานอย่างสม่ำเสมอปีละ 1 ครั้ง เพราะบางคนอาจมีรอยโรคบางอย่างที่เป็นมาแต่กำเนิดแต่ยังไม่เคยตรวจพบ หรือบางรายอาจมีโรคที่เกิดจากความเสี่ยงทางพันธุกรรมยางอย่าง หรือโรคอื่นๆ ที่สามารถตรวจได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ซึ่งจะช่วยให้มีการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต หลักเลี่ยงการเพิ่มความเสี่ยง รักษาหรือชะลอโรคไม่ให้ลุกลาม ▶️กลุ่มผู้ใหญ่ตอนต้น อายุ 30-40 ปี คนในวัยทำงานส่วนมากมักมีรูปแบบการใช้ชีวิตซ้ำๆ การรับประทานอาหารแบบเดิมๆ ที่เน้นความรวดเร็ว ดื่มน้ำน้อย ยิ่งหากขาดการออกกำลังกาย มีความเครียดสะสม นอนดึก คุณภาพการนอนไม่ดี จึงมักมีภาวะน้ำหนักตัวเกินและไขมันในเลือดสูง ซึ่งเป็นต้นเหตุของหลายโรค ดังนั้นจึงควรตรวจสุขภาพพื้นฐานให้ครบถ้วน ดังนี้ - ความสมบูรณ์ของระบบเลือด เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว - ความยืดหยุ่นของหลอดเลือด - ระดับไขมันและน้ำตาลในเลือด - ตรวจสุขภาพปอดด้วยการเอกซเรย์ปอด - ตรวจค่าการทำงานของตับและไต - ตรวจกรดยูริก - ตรวจสมรรถภาพหัวใจ ด้วยการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiography : EKG) - ตรวจปัสสาวะ - อัลตร้าซาวด์ช่องท้อง - ตรวจสุขภาพดวงตา วัดสายตา ความดันลูกตา ▶️ กลุ่มอายุ 40-50 ปี ตรวจพื้นฐานเหมือนกับอายุ 30-40 ปี และตรวจเพิ่มเติมละเอียดมากขึ้น เช่น ตรวจคัดกรองมะเร็ง ตรวจฮอร์โมน การทำงานของปอด ภาวะไขมันพอกตับที่นำไปสู่โรคตับแข็งและมะเร็งตับ ตรวจการทำงานหัวใจให้ละเอียดขึ้น เพราะโรคร้ายหรือภัยแฝงสุขภาพในช่วงวัยนี้พี่พบบ่อยขึ้น คือภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน อันมีสาเหตุมาจากภาวะกล้ามเนื้อหัวใจหนาตัวผิดปกติ หลอดเลือดหัวใจตีบ และจากการมีคลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ ดังนั้นจึงควรตรวจสมรรถภาพหัวใจด้วยการวิ่งสายพาน (EXERCISE STRESS TEST : EST) กับตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Echocardiogram : Echo) เพิ่มเติม ทั้งนี้สำหรับเพศชายและเพศหญิงยังมีสิ่งที่ควรตรวจเพิ่มเติมที่แตกต่างกัน คือ ผู้หญิง ควรตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก และเมื่ออายุ 40 ปีขึ้นไป ควรตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยเครื่อง Mammogram แต่อาจต้องตรวจเร็วขึ้นก่อนอายุ 40 ปี ถ้ามีประวัติว่าคนในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านมในขณะที่อายุน้อยๆ ผู้ชาย ควรตรวจคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมาก ▶️กลุ่มอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป นอกจากรายการตรวจพื้นฐานและการตรวจเพิ่มเติมในช่วงวัย 40-50 ปี แล้ว ในวัย 50 ปีขึ้นไปควรตรวจเพิ่มเติมเพื่อเน้นการค้นหาโรคแฝง โดยเฉพาะโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดสมอง หลอดเลือดห้วใจ มะเร็ง ตรวจภูมิคุ้มกันที่มักลดลงตามวัย ดังนั้นควรพิจารณาเพิ่มรายการตรวจต่างๆ เหล่านี้ เช่น - ตรวจวัดระดับสารอาหารวิตามิน เช่น วิตามินดี - CT Heart Calcium Score ตรวจภาวะหลอดเลือดหัวใจอุดตัน โดยการวัดระดับแคลเซียมหรือหินปูนที่ผนังหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ บริเวณลิ้นหัวใจ เยื่อหุ้มหัวใจ - MRI and MRA Brain ตรวจดูเนื้อสมอง ความเสี่ยงโรคสมองขาดเลือด เนื้อสมองฝ่อ มะเร็งสมอง - Low Dose CT Scan Lung ตรวจโรคปอด คัดกรองมะเร็งปอดอย่างละเอียด - CT Intra-Abdominal Fat วัดปริมาณไขมันในช่องท้องซึ่งสัมพันธ์หรือบอกถึงความเสี่ยงโรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือสมอง โรคความดันโลหิตสูง - Carotid Intima Thickness and Color Doppler ตรวจวัดการอุดตันและการไหลเวียนเลือดของเส้นเลือดแดงใหญ่บริเวณคอที่นำเลือดไปเลี้ยงสมอง หาความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองตีบตัน (Stroke) นอกจากนี้ยังมีการตรวจยีน (Gene Testing) เพื่อหาความเสี่ยงการเกิดโรคก็มีความสำคัญ สามารถบอกความเสี่ยงการเกิดโรคได้ตั้งแต่เนิ่นๆ ไม่ต้องรอให้ผลเลือดผิดปกติ ช่วยวางแผนดูแลสุขภาพทั้งการออกกำลังกาย อาหาร การตรวจทางการแพทย์ที่เหมาะสมตามความเสี่ยงทางพันธุกรรม ▶️กลุ่มผู้สูงอายุ วัย 60 ปีขึ้นไป ตรวจร่างกายทั่วไป ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง BMI และวัดความดันโลหิต อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ตรวจสุขภาพตา อายุ 60-64 ปี ตรวจทุก 2-4 ปี อายุ 65 ปีขึ้นไป ตรวจทุก 1-2 ปี เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตและป้องกันการเกิดอุบัติเหตุจากการมองไม่ชัด การตรวจทางห้องปฏิบัติการที่จำเป็น - ตรวจเลือดเพื่อดูการทำงานของไต ควรตรวจทุกปี เพื่อตรวจคัดกรองความผิดปกติของไต - ตรวจหาเบาหวาน ควรตรวจทุกปี - ตรวจหาไขมันในเลือด ควรตรวจทุก 5 ปี - ตรวจหาภาวะซีด ควรตรวจทุกปี เมื่ออายุ 70 ปีขึ้นไป - ตรวจปัสสาวะ ควรตรวจทุกปี เพื่อคัดกรองความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะ - ตรวจคัดกรองมะเร็ง - มะเร็งลำไส้ใหญ่ ตรวจอุจจาระทุกปี - มะเร็งเต้านม ตรวจทุกปีจนถึงอายุ 69 ปี - มะเร็งปากมดลูก ตรวจทุก 3 ปีจนถึงอายุ 65 ปี - ประเมินสภาวะสุขภาพในผู้สูงอายุ - ภาวะโภชนาการ เพื่อลดภาวะทุพโภชนาการ และได้รับสารอาหารอย่างเหมาะสม - ความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการป้องกันการเกิดอัมพฤกษ์ อัมพาต - ความเสี่ยงโรคกระดูกพรุน เพื่อป้องกันการเกิดกระดูกหัก - ภาวะสมองเสื่อม เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการดูแลที่เหมาะสมในการดำรงชีวิต - ภาวะซึมเศร้า เพื่อคัดกรองภาวะซึมเศร้า โรงพยาบาลเออีซี / aechospital.com
โรคร้ายต้องระวัง...ในช่วงสงกรานต์
ช่วงสงกรานต์เป็นอีกหนึ่งเทศกาลแห่งความสนุกสนาน แต่ก็แฝงเอาไว้ด้วยโรคร้ายต่างๆ เนื่องจากเป็นช่วงหน้าร้อนที่มีการเพิ่มจำนวนของเชื้อโรคได้ง่ายอีกทั้งความอับชื้นจากกิจกรรมเล่นน้ำในช่วงสงกรานต์ ซึ่งพวกเรา โรงพยาบาลเออีซี ได้รวบรวมมาให้แล้วดังนี้ โรคร้ายที่ต้องระวัง ‼ 1. โรคไวรัสตับอักเสบเอ เกิดจากการติดเชื้อไวรัสติดต่อกันผ่านทางน้ำลาย โดยในช่วงเทศกาลเล่นน้ำอาจทำให้มีพฤติกรรมเสี่ยง เช่น ใช้แก้วน้ำร่วมกัน ใช้ช้อนร่วมกัน 2. ตาแดง ตาอักเสบ การติดเชื้อไวรัสในทางเดินหายใจเป็นเชื้อที่อยู่ในอากาศ ถ้าหากเป็นการติดเชื้อที่ดวงตาจากน้ำสกปรกจะเป็นโรคตาอักเสบ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ดวงตาจะเป็นหนองบวมและอักเสบ 3. เชื้อรา โดยเฉพาะบริเวณซอกต่าง ๆ ตามร่างกาย อย่างซอกนิ้วมือ นิ้วเท้า ขาหนีบ บริเวณข้อพับต่าง ๆ 4. ท้องร่วง ท้องเสีย เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัสที่ปนเปื้อนในอาหาร ฤดูร้อนเป็นฤดูที่เชื้อโรคเพิ่มจำนวนได้ง่าย ทำให้มีความเสี่ยงสูง 5. ไข้หวัด ปอดอักเสบ เกิดจากการติดเชื้อ ทางระบบทางเดินหายใจ ซึ่งการเล่นน้ำทำให้อุณหภูมิร่างกายลดต่ำลง ข้อมูลจาก อ. นพ.ประวัฒน์ จันทฤทธิ์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมเปิดให้บริการแบบเต็มรูปแบบเร็ว ๆ นี้ โรงพยาบาลเออีซี AEC Hospital “การรักษาพยาบาล ที่ไร้พรมแดน” สอบถามเพิ่มเติม Line Official : https://lin.ee/A6fw75A เว็บไซต์ : www.aechospital.com TIKTOK : https://www.tiktok.com/@aec.hospital?_t=8kfpY9TdmBV&_r=1 Google Maps: https://maps.app.goo.gl/9roXpf9kQ8LSPC5o7?g_st=ic
รู้จัก “แคดเมียม” ต้นเหตุที่ก่อให้เกิดโรคมากมาย
รู้จัก "แคดเมียม" ต้นเหตุที่ก่อให้เกิดโรคมากมาย แคดเมียม (Cadmium) จะพบได้ในอาหาร น้ำ เหมือง และในส่วนน้ำทิ้ง น้ำเน่าเสีย เมื่อร่างกายสูดดมสารแคดเมียม จะเก็บสะสม ไว้ในตับ และส่วนของหมวกไต (renal cortex) สารแคดเมียมสามารถตกค้างอยู่ในร่างกายมนุษย์ได้ถึง 30 ปี นอกจากนี้สารแคดเมียมจะพบได้ในปอด และมีความเสี่ยงเกิดอันตรายส่วนของไต ทำให้หน้าที่การกรองของไต (GFR) ลดลง ร่างกายสามารถรับสารแคดเมียมได้ทั้งทางตรงและทางอ้อมเช่น การกินอาหารทะเลที่มีการปนเปื้อนของสารแคดเมียม การได้รับควันของสารดังกล่าวจากการสูดดมในเหมืองหรือจากสิ่งแวดล้อมรอบตัว ซึ่งส่วนใหญ่จะมาจากโรงงาน รวมถึงน้ำเสียของโรงงาน พิษของแคดเมียมและโรคที่เกิดขึ้น การได้รับแคดเมียมจำนวนมากอาจทำให้เกิดพิษฉับพลันได้ พิษเฉียบพลันส่วนใหญ่เกิดจากการหายใจเอาฝุ่นเข้าไป โดยทั่วไประยะเวลาหลังจากสัมผัสสารจะยาวนาน 2-3 ชั่วโมงก่อนแสดงอาการ อาการเริ่มแรกจะมีการระคายเคืองเล็กน้อยของทางเดินหายใจส่วนต้น อีก 2-3 ชั่วโมงต่อมาจะมีอาการไอ เจ็บปวดในทรวงอก เหงื่อออกและหนาวสั่น ซึ่งเป็นอาการที่คล้ายกับการติดเชื้อทั่วไปของทางเดินหายใจส่วนต้น ต่อมา 8-24 ชั่วโมง หลังจากสัมผัสสารอย่างฉับพลัน อาจเห็นอาการระคายเคืองอย่างแรงที่ปอด เจ็บปวดในทรวงอก หายใจลำบาก ไอ และอ่อนเพลีย อาการหายใจลำบากจะรุนแรงขึ้น เมื่อเกิดน้ำท่วมปอดตามมา อันตรายจากกรณีเช่นนี้มีถึง 15% ผู้ป่วยที่รอดชีวิตอาจมีฟองอากาศในเนื้อเยื่อ และเนื้อปอดปูดนูนออกมา ซึ่งต้องใช้เวลานานในการรักษาให้หาย โรคจากสารแคดเมียม ดังนี้ 1. โรคปอดเรื้อรัง การได้รับแคดเมียมนานๆ และในปริมาณมากโดยเฉพาะจากการหายใจ จะทำให้เกิดการอุดตันภายในปอด ซึ่งเป็นเพราะมีการอักเสบของหลอดลม มีพังผืดจับในทางเดินหายใจส่วนล่าง และมีการทำลายของถุงลมซึ่งจะกลายเป็นโรคถุงลมโป่งพองในที่สุด 2. โรคไตอักเสบ จะแสดงออกโดยมีการอักเสบของไต โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ท่อในไต ซึ่งจะพบแคดเมียมในปัสสาวะสูง มีโปรตีน กลูโคสสูงในปัสสาวะ การทำงานทางท่อในไตเสียการทำงาน พบว่ามีการสะสมของแคดเมียมที่หมวกไต ก่อให้เกิดการอักเสบและเป็นอันตรายต่อไป และอาจเป็นไตวายได้ในที่สุดการเกิดโรคไตอักเสบนี้จะเป็นแบบถาวร แต่ส่วนใหญ่โรคที่เกิดจากแคดเมียมมักเป็นชนิดเรื้อรัง อาการของผู้รับสารแคดเมียมติดต่อกันเป็นเวลานาน ผู้ป่วยจะเกิดอาการเจ็บป่วยอย่างทรมาน โดยบริเวณ แขน ขา สะโพก และบริเวณฟัน จะพบมีวงแหวนสีเหลืองติดกับเหงือก เรียกว่า วงแหวนแคดเมียม และจะมีอาการปวดร้าวสะสมนานถึง 20-30 ปี และเมื่อร่างกายเดินไม่ไหว ก็จะเกิดการ กดกระดูกสันหลัง หรือที่เรียกว่าโรคอิไต-อิไต (Itai-Itai disease) อาการที่ได้รับสารแคดเมียมจากการกิน จะทำให้เกิดการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย มีปวดศีรษะ กล้ามเนื้อ ปวดท้อง และปอด โดยไตและตับจะถูกทำลาย ถ้าหากหายใจควันเข้าไปในปอด ก็จะมีอาการเจ็บคอ หายใจสั่น มีเสมหะเป็น เลือด น้ำหนักลด โลหิตจาง การหายใจจะลำบากมากขึ้นสุดท้ายก็จะไตวาย หากพบว่ามีความเสี่ยงจากการรับสารหรือมีอาการ สามารถตรวจสุขภาพได้ที่ ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพ โทร. 1715 ต่อ 122, 124 ที่มา: 1. https://www.foodnetworksolution.com/.../cadmium-%E0%B9%81... 2. งานบริการเทคนิคการแพทย์ชุมชนศูนย์ความเป็นเลิศการบริการสุขภาพและมาตรฐานวิชาชีพ คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมเปิดให้บริการแบบเต็มรูปแบบเร็ว ๆ นี้ โรงพยาบาลเออีซี AEC Hospital “การรักษาพยาบาล ที่ไร้พรมแดน” aechospital.com
ฮีทสโตรก ภัยร้าย..อันตรายถึงชีวิต
“ฮีทสโตรก” หรือ “โรคลมแดด” คือภาวะที่ร่างกายไม่สามารถควบคุมระดับความร้อนภายในร่างกายได้ ทำให้อุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้นเรื่อย ๆ จะมีอาการตัวร้อน แต่ไม่มีเหงื่อออก หากปล่อยทิ้งไป อาจส่งผลทำให้ชักกระตุก เกร็ง หมดสติและถึงขั้นเสียชีวิต อาการเสี่ยงของฮีทสโตรก - อุณหภูมิในร่างกายสูง - หน้ามืด เพ้อ - กระสับกระส่าย - ชักเกร็ง - มึนงง - หายใจเร็ว - หัวใจเต้นผิดจังหวะ วิธีป้องกันเบื้องต้น - หลีกเลี่ยงสถานที่ ที่มีแดดจัด - สวมเสื้อระบายอากาศ-สีสว่าง - ควรดื่มน้ำ ชม. ละ 1 ลิตร แม้จะไม่รู้สึกกระหายน้ำ - งดดื่มสุรา กาแฟ - งดกิจกรรมกลางแจ้งที่มีแดดวิธีป้องกัน - การช่วยเหลือเบื้องต้น - นำผู้ป่วยเข้าที่ร่ม ที่มีอากาศถ่ายเท ไม่โดนแดด - ควรปลดเสื้อผ้าให้หลวม เพื่อระบายอากาศ - จัดท่าให้นอนหงายราบ ยกขาให้สูงทั้ง 2 ข้าง - ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นเช็ดตัว เปิดพัดลมช่วยระบาย - หากไม่หมดสติ ให้ดื่มน้ำมาก ๆ - หากอาการแย่ลง ให้รีบนำส่ง รพ. ทันที พร้อมเปิดให้บริการแบบเต็มรูปแบบเร็ว ๆ นี้ โรงพยาบาลเออีซี AEC Hospital “การรักษาพยาบาล ที่ไร้พรมแดน” สอบถามเพิ่มเติม Line Official : https://lin.ee/A6fw75A เว็บไซต์ : www.aechospital.com TIKTOK : https://www.tiktok.com/@aec.hospital?_t=8kfpY9TdmBV&_r=1 Google Maps: https://maps.app.goo.gl/9roXpf9kQ8LSPC5o7?g_st=ic
6 โรค ต้องระบุ ในใบรับรองแพทย์ ตรวจสุขภาพแรงงานต่างด้าว
ใบรับรองแพทย์การตรวจสุขภาพแรงงานต่างด้าวต้องตรวจอะไรบ้าง? การตรวจสุขภาพแรงงานต่างด้าว ในใบรับรองแพทย์จะต้องระบุตรวจผ่านให้ครบทั้ง 7 โรค ดังนี้ 1.“โรคเรื้อน” เป็นโรคติดต่อเรื้อรังที่เกิดจากเชื้อ มัยโคแบคทีเรียม เลแพร เชื้อนี้ชอบ อาศัยอยู่ในเส้นประสาทและผิวหนัง เมื่อร่างกายพยายามกำจัดเชื้อนี้เส้นประสาทจึงถูกทำลายและทำให้เกิดอาการทางผิวหนังตามไปด้วย หากไม่รีบรักษาจะทำให้เกิดความพิการของมือ เท้า และตา 2.“โรคยาเสพติดให้โทษ“ อาการทางจิตจะเกิดขึ้น ต่อ การเสพยาเข้าไปใน ปริมาณมาก ๆ ติดต่อกันเป็นเวลานาน ทำให้เกิดอาการประสาทหลอน คลุ้มคลั่ง ขาดสติ หวาดระแวงกลัวคนจะมาทำร้าย ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ อาจทำร้ายตัวเองและ ผู้อื่น 3. “วัณโรคระยะอันตราย“ ผู้ป่วยที่เป็นวัณโรคเป็นโรคติดเชื้อร้ายแรงชนิดหนึ่ง ซึ่ง โดยมากแล้วจะมีผลต่อปอด หรือที่เรียกว่า "วัณโรคปอด" ทั้งนี้ วัณโรคปอดเป็นโรคติดต่อและสามารถแพร่สู่คนผ่านละอองฝอยจากการไอและจามได้ 4. “โรคพิษสุราเรื้อรัง“ คือ กลุ่มที่ดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมากติดต่อกันมาเป็นระยะ เวลานานจนไม่สามารถเลิกดื่มได้ ทำให้ส่งผลเสียต่อสภาพร่างกาย หรือการทํางาน ครอบครัว และสังคมรอบข้าง และเพื่อไม่ให้สุขภาพของผู้ป่วยมีปัญหามากขึ้นไปอีก การ หยุดดื่ม..ถือว่าเป็นทางแก้ปัญหาเพียงทางเดียว และที่สำคัญ ควรอยู่ภายใต้การดูแลของ แพทย์เพื่อให้แนวทางการรักษาเป็นไปอย่างถูกวิธี 5. “โรคเท้าช้าง“ เป็นโรคที่เกิดจากหนอนพยาธิตัวกลมฟิลาเรีย มีลักษณะคล้ายเส้นด้าย อาศัยอยู่ในระบบน้ำเหลือของคน โดยมียุงเป็นพาหะนำโรคมีอาการที่เห็นได้ชัด คือ บา แขน หรืออวัยวะเพศบวมโตผิดปกติ เนื่องจากภาวะอุดตันของท่อน้ำเหลือง 6. “โรคซิฟิลิสในยะระที่ 3“ โรคซิฟิลิสเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เกิดจากเชื้อ แบคทีเรีย ทรีโพนีมาพาลลิดัม (Treponema pallidum) เมื่อได้รับเชื้อจะกระจายไป ตามกระแสโลหิต ทำให้เกิดพยาธิสภาพได้เกือบทุกอวัยวะ ระยะที่สาม (ระยะแฝง) ระยะ นี้จะไม่ ปรากฏ อาการใดๆของโรค แต่สามารถตรวจพบเชื้อได้ในกระแสเลือด ผลเลือด ซิฟิลิสเป็นบวก ในสตรีที่มาฝากครรภ์และผู้ป่วยโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์มักพบโรค ซิฟิลิสระยะแฝง มากกว่าระยะอื่น 7. ตรวจการตั้งครรภ์ *สำหรับผู้หญิง
บริการตรวจสุขภาพแรงงานต่างด้าว ต่อ Work Permit
บริการตรวจสุขภาพแรงงานต่างด้าว [Work permit program] ในราคา 500 บาท ที่ โรงพยาบาลเออีซี ใบรับรองแพทย์การตรวจสุขภาพแรงงานต่างด้าว มีรายการตรวจอะไรบ้าง? 1. “โรคเรื้อน” เป็นโรคติดต่อเรื้อรังที่เกิดจากเชื้อ มัยโคแบคทีเรียม เลแพร เชื้อนี้ชอบ อาศัยอยู่ในเส้นประสาทและผิวหนัง เมื่อร่างกายพยายามกำจัดเชื้อนเส้นประสาทจึงถูก ทำลายและทำให้เกิดอาการทางผิวหนังตามไปด้วย หากไม่รีบรักษาจะทำให้เกิดความพิการของมือ เท้า และตา 2. “โรคยาเสพติดให้โทษ“ อาการทางจิตจะเกิดขึ้น ต่อ การ พารหดเข้าไปใน ปริมาณมาก ๆ ติดต่อกันเป็นเวลานาน ทำให้เกิดอาการประสาทหลอน คลุ้มคลั่ง ขาดสติ หวาดระแวงกลัวคนจะมาทำร้าย ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ อาจทำร้ายตัวเองและ ผู้อื่น เหมือนข่าวที่เห็นกันอยู่บ่อย ๆ ที่ผู้เสพยาปีนป่ายขึ้นไปบนเสาไฟฟ้าหรือที่สูงเพราะ ฤทธิ์ยา 3. “วัณโรคระยะอันตราย“ ผู้ป่วยที่เป็นวัณโรคเป็นโรคติดเชื้อร้ายแรงชนิดหนึ่ง ซึ่ง โดยมากแล้วจะมีผลต่อปอด หรือที่เรียกว่า "วัณโรคปอด" ทั้งนี้ วัณโรคปอดเป็นโรคติดต่อและสามารถแพร่สู่คนผ่านละอองฝอยจากการไอและจามได้ 4. “โรคพิษสุราเรื้อรัง“ คือ กลุ่มที่ดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมากติดต่อกันมาเป็นระยะ เวลานานจนไม่สามารถเลิกดื่มได้ ทำให้ส่งผลเสียต่อสภาพร่างกาย หรือการทํางาน ครอบครัว และสังคมรอบข้าง และเพื่อไม่ให้สุขภาพของผู้ป่วยมีปัญหามากขึ้นไปอีก การ หยุดดื่ม..ถือว่าเป็นทางแก้ปัญหาเพียงทางเดียว และที่สำคัญ! ควรอยู่ภายใต้การดูแลของ แพทย์เพื่อให้แนวทางการรักษาเป็นไปอย่างถูกวิธี 5. “โรคเท้าช้าง“ เป็นโรคที่เกิดจากหนอนพยาธิตัวกลมฟิลาเรีย มีลักษณะคล้ายเส้นด้าย อาศัยอยู่ในระบบน้ำเหลือของคน โดยมียุงเป็นพาหะนำาไทย มีอาการที่เห็นได้ชัด คือ บา แขน หรืออวัยวะเพศบวมโตผิดปกติ เนื่องจากภาวะอุดตันของท่อน้ำเหลือง 6. “โรคซิฟิลิสในยะระที่ 3“ โรคซิฟิลิสเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เกิดจากเชื้อ แบคทีเรีย ทรีโพนีมาพาลลิดัม (Treponema pallidum) เมื่อได้รับเชื้อจะกระจายไป ตามกระแสโลหิต ทำให้เกิดพยาธิสภาพได้เกือบทุกอวัยวะ ระยะที่สาม (ระยะแฝง) ระยะ นี้จะไม่ปรากฏอาการใดๆของโรค แต่สามารถตรวจพบเชื้อได้ในกระแสเลือด ผลเลือด ซิฟิลิสเป็นบวก ในสตรีที่มาฝากครรภ์และผู้ป่วยโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์มักพบโรค ซิฟิลิสระยะแฝง มากกว่าระยะอื่น 7. ตรวจการตั้งครรภ์ *สำหรับผู้หญิง
PM 2.5 ภัยร้าย...อันตรายต่อสมอง
PM 2.5 ภัยร้าย...อันตรายต่อสมอง ภาวะมลพิษทางอากาศ ประกอบไปด้วยสารพิษที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพหลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นคาร์บอนมอนอกไซด์ ตะกั่ว ไนโตรเจนไดออกไซด์ โอโซน และซัลเฟอร์ไดออกไซด์ รวมถึงฝุ่น PM 2.5 ที่เป็นตัวชี้วัดมลพิษทางสิ่งแวดล้อม ซึ่งเจ้า PM 2.5 ที่เรากำลังเผชิญกันอยู่ทุกวันนี้เป็นตัวที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพเป็นอย่างมากเสียจนเราอาจคาดไม่ถึง ในปี 2560 มีข้อมูลพบว่าประชากรจำนวน 4.9 ล้านคนทั่วโลกเสียชีวิตจากมลพิษทางอากาศและฝุ่น PM 2.5 คิดเป็น 60% ของการเสียชีวิตเลยทีเดียว (GBD 2017 Risk Factor Collaborators, 2018) ดังนั้นเราคงต้องกลับมาใส่ใจเรื่องปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดจาก PM 2.5 วันนี้ โรงพยาบาลเออีซี (aechospital) จะมาแบ่งปันข้อมูลของ PM 2.5 ให้ทุกคนได้ระวังภัยร้ายของ PM 2.5 กันให้มากขึ้น รู้หรือไม่ PM 2.5 ส่งผลต่อสมองทั้งในระยะสั้นและระยะยาว Particulate Matter 2.5 หรือที่เราเรียกกันสั้นๆว่า PM 2.5 คือฝุ่นละอองขนาดเล็กที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.5 ไมโครมิเตอร์หรือเล็กกว่า ซึ่งอนุภาคขนาดเล็กเหล่านี้สามารถผ่านการกรองของขนจมูกเข้าไปสู่ชั้นในสุดของปอดได้ ทำให้ให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ หัวใจและหลอดเลือด หรือมะเร็งปอด ไม่เพียงเท่านี้ PM 2.5 ยังส่งผลต่อสมองอีกด้วย ในปัจจุบันเริ่มมีงานวิจัยหลายชิ้นที่แสดงให้เห็นว่า การสัมผัสกับ PM 2.5 อาจส่งผลเสียต่อสมองทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งคนส่วนใหญ่อาจจะยังไม่ได้ตระหนักถึงกันมากนักในเรื่องนี้ เพราะคนส่วนใหญ่คิดว่าฝุ่นละอองขนาดเล็กนี้จะส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจและมะเร็งเท่านั้น แต่…อย่างที่เรารู้กันว่า "สมอง" มีความสำคัญต่อร่างกายไม่น้อยไปกว่าอวัยวะอื่นใด เช่นนี้แล้วเรามาดูกันว่าฝุ่น PM 2.5 ส่งผลต่อสมองของเราอย่างไรกันบ้าง ความบกพร่องทางสติปัญญา (Cognitive Impairment): มีการศึกษาพบว่า PM 2.5 ทำให้สมรรถนะการทำงานของสมองด้านความรู้ความเข้าใจ (Cognitive Function) ลดลงโดยเฉพาะในผู้สูงอายุและเด็ก ส่งผลให้เกิดปัญหาด้านความจำ ด้านความสนใจและจดจ่อ รวมถึงมีความสามารถในการแก้ปัญหาที่ลดลง ภาวะการอักเสบในสมอง: ฝุ่นละออง PM 2.5 ทำให้เกิดภาวะการอักเสบในสมองได้ เชื่อกันว่าการอักเสบส่งผลต่อการเกิดความผิดปกติทางระบบประสาทต่างๆ รวมถึงโรคอัลไซเมอร์ โรคพาร์กินสัน และโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งอีกด้วย ผลกระทบด้านพัฒนาการ: การได้รับ PM 2.5 ในช่วงก่อนคลอดและในช่วงวัยเด็กมีความเกี่ยวข้องกับพัฒนาการทางด้านระบบประสาทที่บกพร่องในเด็ก ทำให้ความสามารถในการเรียนรู้ลดลง และอาจเกิดโรคสมาธิสั้น (ADHD) และโรคออทิสติกได้ด้วย โรคทางสุขภาพจิต: มีบางการศึกษาเสนอความเชื่อมโยงกันระหว่างการสัมผัส PM 2.5 กับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล และปัญหาสุขภาพจิตด้านอื่นๆ โรคหลอดเลือดสมอง: การสัมผัสกับ PM 2.5 ในปริมาณสูงมีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของโรคหลอดเลือดสมอง เนื่องจากอนุภาคของฝุ่น PM 2.5 อาจทำให้เกิดการอักเสบและทำลายหลอดเลือดในสมองได้นั่นเอง นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ PM 2.5 ส่งผลคุกคามต่อสุขภาพสมองของเราเท่านั้น ยังมีอีกหลายงานวิจัยที่กำลังศึกษาถึงผลกระทบในด้านอื่นๆ นอกเหนือจากที่กล่าวมาแล้วข้างต้น การหันกลับมาดูแลตัวเอง ป้องกันและหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับ PM 2.5 คงเป็นสิ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้และไม่ควรละเลยอีกต่อไป ดูแลสมองโดยการป้องกัน PM 2.5 ในเมื่อเรายังไม่สามารถแก้ไขปัญหาสถานการณ์ของ PM 2.5 ที่กำลังเผชิญในขณะนี้ให้หมดไปได้ เราคงทำได้เพียงหลีกเลี่ยงหรือลดการสัมผัสกับ PM 2.5 ให้ได้มากที่สุด เพื่อการดูแลและป้องกันสุขภาพสมองของเราจากภาวะมลพิษทางอากาศ hhc Thailand มีข้อแนะนำดังต่อไปนี้ ตรวจสอบระดับคุณภาพอากาศจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้เป็นประจำ เช่น แอป Air4Thai ของกรมควบคุมมลพิษหรือแอปอื่นๆ บนอุปกรณ์เคลื่อนที่ เพื่อวางแผนในการทำกิจกรรมที่ต้องอยู่กลางแจ้งให้เหลือน้อยที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาเช้าและเย็นซึ่งมักจะเป็นช่วงเวลาที่มีมลพิษสูงสุดของวัน จำกัดกิจกรรมที่ต้องใช้กำลังมากๆ กลางแจ้งในวันที่มีมลพิษสูง เช่น การวิ่ง การปั่นจักรยาน เนื่องจากการใช้กำลังมากจะส่งผลให้อัตราการหายใจเพิ่มขึ้น ทำให้ร่างกายสามารถรับปริมาณ PM 2.5 ได้มากกว่าสภาวะปกติ สวมหน้ากากป้องกัน PM 2.5 หากจำเป็นต้องออกไปข้างนอกในช่วงวันที่มีมลพิษสูง ควรสวมหน้ากากที่กระชับและพอดีกับใบหน้าที่ออกแบบมาเพื่อกรองอนุภาค PM 2.5 ได้ เช่น หน้ากาก N95 หรือ N99 สร้างสภาพแวดล้อมภายในอาคารหรือที่พักอาศัยให้สะอาดและมีการระบายอากาศที่ดี โดยการไม่สูบบุหรี่และจุดธูปเทียนภายในอาคาร การปิดหน้าต่างและประตูในวันที่อากาศมีมลพิษสูงและใช้เครื่องฟอกอากาศที่มีแผ่นกรอง HEPA เพื่อกำจัดอนุภาค PM 2.5 ออกจากอากาศภายในอาคาร ปลูกต้นไม้ช่วยลดมลพิษ การปลูกต้นไม้สามารถช่วยดูดซับมลพิษรวมถึง PM 2.5 และช่วยปรับปรุงคุณภาพอากาศให้ดีขึ้นได้ แต่หากคุณมีพื้นที่ไม่มากพอที่จะปลูกต้นไม้ใหญ่ได้ การเลือกปลูกไม้ประดับที่ช่วยดูดสารพิษในอากาศได้ดีก็เป็นทางเลือกที่ดี เช่น พลูด่าง เศรษฐีเรือนใน วาสนาอธิษฐาน เป็นต้น หากเราทุกคนตระหนักถึงภัยคุกคามจากภาวะมลพิษทางกาอากาศรวมถึง PM 2.5 การป้องกันและหลีกเลี่ยงคงไม่เพียงพอ เราคงต้องช่วยกันลดการปลดปล่อยมลพิษต่างๆ ที่เกิดจากการดำเนินชีวิตประจำวันให้มากที่สุด เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคร้ายต่างๆ ในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นโรคทางสมอง ทางเดินหายใจ หรือโรคมะเร็ง ล้วนแล้วแต่ไม่เป็นที่ต้องการทั้งนั้น เริ่มต้นดูแล ใส่ใจตัวเองและสิ่งแวดล้อมในวันนี้ เพื่อสุขภาพที่ดีกันนะ ขอขอบคุณข้อมูลจาก : hhcthailand