หน้าหลัก
บริการ
ข่าวและบทความ
เกี่ยวกับเรา
ติดต่อ
ภาษา
เข้าสู่ระบบ

หน้าหลัก บทความสุขภาพ ฮีทสโตรก

ฮีทสโตรก (Heat Stroke) อันตรายจากอากาศร้อนที่ไม่ควรมองข้าม

Visited +1 Times

ฮีทสโตรก (Heat Stroke) อันตรายจากอากาศร้อนที่ไม่ควรมองข้าม

ฮีทสโตรก (Heat Stroke) อันตรายจากอากาศร้อนที่ไม่ควรมองข้าม
.
ฮีทสโตรก (heat stroke) หรือที่เรียกว่าโรคลมแดด เป็นภาวะรุนแรงที่เกิดจากการที่ร่างกายไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิได้เมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีความร้อนสูง ทำให้เกิดการสูญเสียการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย ส่งผลให้อาจหมดสติ ชัก และรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ บทความนี้จะมาอธิบายถึงอาการ สาเหตุ กลุ่มเสี่ยง วิธีปฐมพยาบาล และการป้องกันโรคฮีทสโตรก เพื่อความปลอดภัยของทุกคนในช่วงหน้าร้อน
.
อาการ ฮีทสโตรก (heat stroke)
อาการของฮีทสโตรก สามารถแบ่งออกได้ตามความรุนแรงของอาการ ดังนี้:

อาการเบื้องต้น

- ปวดศีรษะ และมีอาการเวียนหัว
- ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ 
- เหงื่อออกมาก หรือบางครั้งเหงื่อไม่ออกเลยในบางกรณีที่ร่างกายร้อนเกินไปจนระบบขับเหงื่อหยุดทำงาน

อาการรุนแรง

- ขาดน้ำจากการสูญเสียความร้อน
- ฮีทสโตรกหรือโรคลมแดด มีภาวะชัก หมดสติ หรือการเต้นของหัวใจผิดปกติ
.
ฮีทสโตรก อันตรายแค่ไหน
ความร้ายแรงของฮีทสโตรก คือ ร่างกายมีอุณหภูมิที่สูงขึ้น เมื่ออุณหภูมิร่างกายสูงขึ้นจะทำให้ระบบในร่างกายทำงานผิดปกติไป โดยความผิดปกติเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ มึนศีรษะ ปวดศีรษะ อันนี้เป็นอาการเริ่มต้น หลังจากนั้น ถ้าเราไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิได้ ก็จะทำให้เกิดอาการฮีทสโตรก ก็จะมีอาการที่มีความรู้สึกตัวที่ผิดปกติไป อาจจะมีภาวะชัก หรือว่าการหมดสติจากการที่หัวใจเราเต้นผิดจังหวะได้ และสุดท้ายคือเสียชีวิตได้
.
ฮีทสโตรกเกิดจากอะไร

ฮีตสโตรก หรือ โรคลมแดด เกิดจากภาวะที่ร่างกายมีอุณหภูมิสูงมากจนทำให้เกิดภาวะที่ร่างกายไม่สามารถปรับตัวได้ โดยอาการ ฮีทสโตรก ส่วนใหญ่มักจะเกิดในผู้ป่วยที่อยู่กลางแดดนาน ๆ และมีอุณหภูมิกายมากกว่า 40 องศาเซลเซียส ร่วมกับภาวะที่มีความรู้สึกตัวที่ผิดปกติไป เช่น อาจจะหมดสติหรือมีภาวะชักได้ ซึ่งจะแตกต่างจากกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นลมปกติ โดยที่ประวัติที่แตกต่างกันเลยคือ ผู้ป่วยที่เป็นลมปกติไม่ได้อยู่กลางแดด

สิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดโรคลมแดด
1. อุณหภูมิที่สูง
2. ความชื้น ความชื้นที่สูงทำให้อากาศถ่ายเทไม่ดี ทำให้อุณหภูมิสูงขึ้นได้
3. ภาวะแรงลม ถ้าไม่มีลม ก็ไม่สามารถพัดความร้อนได้
.
กลุ่มเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะโรคลมแดดกลุ่มเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะโรคลมแดด
1. ผู้สูงอายุและเด็กเล็ก : กลุ่มนี้มีระบบการควบคุมอุณหภูมิร่างกายที่ไม่สมบูรณ์เท่าวัยรุ่นหรือผู้ใหญ่ ทำให้เกิดฮีทสโตรกได้ง่ายขึ้น
2. ผู้ที่มีโรคประจำตัว : เช่น โรคพาร์กินสัน หรือโรคความดันโลหิตสูง มักมีภาวะการควบคุมอุณหภูมิที่ผิดปกติจากการใช้ยารักษาโรค
3. ผู้ทำงานกลางแจ้งหรือออกกำลังกายหนัก : เช่น คนงานก่อสร้าง นักกีฬา นักวิ่งมาราธอน หรือผู้ที่ต้องใช้แรงงานหนักกลางแจ้งเป็นเวลานาน
4. ผู้ที่ดื่มน้ำน้อยในหน้าร้อน : การขาดน้ำทำให้ร่างกายไม่สามารถระบายความร้อนได้ตามปกติ
.
การปฐมพยาบาล
ฮีทสโตรก ปฐมพยาบาลอย่างแรกคือ ต้องดูว่าคนไข้มีภาวะความรู้สึกตัวที่ผิดปกติไปหรือเปล่า ถ้ามีภาวะความรู้สึกตัวที่ผิดปกติไป ให้ไปคลำชีพจรดูว่าการหายใจเขาผิดปกติหรือเปล่า ถ้ามีการหายใจที่ผิดปกติ ต้องทำ CPR และโทร 1669 เพื่อเรียกรถพยาบาลมารับผู้ป่วยไปโรงพยาบาลอย่างรวดเร็ว

ในกลุ่มผู้ป่วยที่ยังมีความรู้สึกตัวที่ปกติดีอยู่ ก็สามารถนำผู้ป่วยเข้ามาในที่ร่มได้ และให้ผู้ป่วยดื่มน้ำให้เยอะ ๆ และรีบลดอุณหภูมิกายโดยการใช้น้ำแข็ง หรือการใช้ cool blanket คือการใช้ผ้ายาง ใส่น้ำแข็งลงไป แล้วให้ผู้ป่วยนอนอยู่ในตรงนั้น ถ้ามีพัดลม สามารถเปิดพัดลมได้

ถ้าใช้เป็นผ้าชุบน้ำ ในคนไข้ที่เป็นโรคกลุ่มฮีทสโตรก มักจะไม่ค่อยได้ผล แต่สามารถใช้ได้ โดยการเช็ดตัวให้เช็ดตัวเหมือนผู้ป่วยที่เป็นไข้ คือเช็ดสวนขึ้นมาเข้าทางหัวใจ เช็ดทางเดียว และเปิดพัดลม
.
วิธีป้องกันฮีทสโตรก

1. ดื่มน้ำให้มากขึ้นกว่าปกติ : โดยเฉพาะเมื่อต้องออกกำลังกายหรือทำงานในที่กลางแจ้ง
2. หลีกเลี่ยงการอยู่กลางแดดเป็นเวลานาน : หากต้องออกกลางแจ้ง ควรใส่หมวกหรือกางร่มเพื่อป้องกันความร้อน
3. ใส่เสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดี: เพื่อช่วยให้ร่างกายสามารถระบายความร้อนได้ง่ายขึ้น
4. พักในที่ร่มและมีลมพัดผ่าน : ควรหาที่พักในที่ที่มีการระบายอากาศดี เช่น ห้องที่มีพัดลมหรือเครื่องปรับอากาศ
5. ไม่ควรออกกำลังกายหนักในช่วงที่ อากาศร้อนจัด : เลือกช่วงเวลาที่อากาศเย็นลง หรือทำกิจกรรมในช่วงเช้าหรือเย็นแทน
6. ไม่ควรอยู่ในห้องปิด : เปิดประตู หน้าต่างเพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก
.
ฮีทสโตรก (heatstroke) ภัยเงียบที่ไม่ควรมองข้ามในช่วงหน้าร้อน เพื่อความปลอดภัยของตนเองและคนรอบข้าง ควรเตรียมตัวและระมัดระวังไม่ให้เกิดภาวะนี้โดยการดื่มน้ำมาก ๆ หลีกเลี่ยงการอยู่กลางแดดนาน และดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเสมอ สามารถอ่านบทความเพิ่มเติม โรคลมแดด (heat stroke) ได้ที่นี่
.
ข้อควรระวังคือ อย่าทำให้ร่างกายขาดน้ำ เตรียมน้ำ ดื่มน้ำเยอะ ๆ อาจจะต้องเยอะกว่าในฤดูอื่น
.
ขอขอบคุณ ข้อมูลโดย รศ. นพ.กานต์ สุทธาพานิชภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
Share -

นัดหมายแพทย์



หรือนัดหมายแพทย์ล่วงหน้า ได้ที่ ศูนย์ตรวจสุขภาพ โรงพยาบาลเออีซี

              

เนื้อหาที่คุณอาจสนใจ

โรงพยาบาลเออีซี

เลขที่ 5/107 หมู่ 1 ตำบลห้วยกะปิ อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี ห้วยกะปิ เมือง ชลบุรี 20000

061-350-6197

           

แผนที่และการเดินทาง

โรงพยาบาลเออีซี

เลขที่ 5/107 หมู่ 1 ตำบลห้วยกะปิ อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี ห้วยกะปิ เมือง ชลบุรี 20000

   061-350-6197

              

ฝากข้อความติดต่อกลับ

กดติดตามรับข่าวสาร

Copyrights © 2025 All Rights Reserved. www.aechospital.com Version 1.0. Designed by WEB-BEE-DEV. +69,167 Times.